รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร
A Development Model of Teachers, Learning Arrangement for Learning Happiness Creating of the Secondary School Students in Bangkok

: ชื่อผู้วิจัย กิตติภพ ภวณัฐกุลธร
: ตำแหน่ง -
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2559
: 880

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร 2) ตรวจสอบยืนยันรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้ทรงวุฒิ ตอนที่ 2 ร่างรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ตอนที่ 3 การประเมินความเหมาะสมร่างรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยการจัดประชุมกลุ่มสนทนากับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ตอนที่ 4 ตรวจสอบความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริงของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 44 โรงเรียน และขั้นตอนที่ 5 การยืนยันรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยการจัดประชุมกับผู้ทรงวุฒิ 7 คน ผลการวิจัยพบว่า

จากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้กรอบแนวคิดในการวิจัย 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาความเป็นครู 2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ด้านสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ และ 4) ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ การประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณารายด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ลำดับแรกคือ ด้านการพัฒนาความเป็นครู ลำดับดับที่สองคือ ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ ลำดับที่สามคือ ด้านสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ และลำดับสุดท้าย ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร พบว่า มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณารายด้านมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน ลำดับแรกคือ ด้านการพัฒนาความเป็นครู ลำดับที่สองคือ ด้านสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ ลำดับที่สามคือ ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ และลำดับสุดท้ายคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

การยืนยันรูปแบบของผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่ารูปแบบรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ร้อยละ 100

`

รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครA Development Model of Teachers, Learning Arrangement for Learning Happiness Creating of the Secondary School Students in Bangkok is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.