การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อลดความสูญเสียในการศึกษารายวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค Six-Sigma
Model development Academic Administration To Reduce the Loss in the study Mathematics using Six Sigma Technique

: ชื่อผู้วิจัย ชวลิต เกตุกระทุ่ม
: ตำแหน่ง -
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2558
: 605

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยเรื่องครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อลดความสูญเสียในการศึกษารายวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค Six-Sigma วิธีการวิจัยประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาหลักการทฤษฎีและปัญหาความเป็นมาและหลักการ โดยการนําปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันมาสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา ผู้บริหารมหาวิทยาลัย อาจารย์ ผู้สอนคณิตศาสตร์และนักศึกษา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาความสูญเสียเป็นการหาความสูญเสียที่เกิดขึ้น จริงในภาคเรียนที่ 2/2556 ซึ่งความสูญเสียนี้อยู่ในระดับ 2 - Sigma ขั้นตอนที่ 3 สร้างเครื่องมือในการวิจัย เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่มีคุณภาพซึ่งถามเกี่ยวกับสาเหตุที่ทําให้นักศึกษาสอบไม่ผ่านในรายวิชาคณิตศาสตร์ ขั้นตอนที่ 4 เก็บข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านในรายวิชาคณิตศาสตร์และผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัย ภาคการศึกษา 2/2556 ใน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ขั้นตอนที่ 5 สร้างรูปแบบเป็นการสร้างรูปแบบจากผลของการวิเคราะห์ข้อมูล และมีเทคนิค Six-Sigma เข้ามาร่วมด้วย ขั้นตอนที่ 6 การประเมินและยืนยันรูปแบบ

จากผลการวิจัยพบว่า ได้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อลดความสูญเสียในการศึกษา รายวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค Six Sigma ใน 4 ด้าน ได้แก่ ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียน การเรียนการสอนงานที่มอบหมายและข้อสอบปลายภาคที่มีผลการประเมินด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเป็นประโยชน์และด้านการมีประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ใช้ประโยชน์และการรับรองรูปแบบอยู่ในระดับมาก

`

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อลดความสูญเสียในการศึกษารายวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค Six-SigmaModel development Academic Administration To Reduce the Loss in the study Mathematics using Six Sigma Technique is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.