การวิจัยและพัฒนารูปแบบการธำรงรักษาแบบ PSPP ด้วยกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความ ตั้งใจคงอยู่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่ตั้งในเขต กรุงเทพมหานคร
RESEARCH AND DEVELOPMENT ON THE MODEL OF PSPP RETENTION WITH GROUP DYNAMIC ACTIVITIES TO PROMOTE THE INTENTION OF UNDERGRADUATE STUDENTS TO PERSIST IN REGULAR PROGRAMS AT RAJAMANGALA UNIVERSITY OF TECHNOLOGY IN BANGKOK

: ชื่อผู้วิจัย สุขจิตร ตั้งเจริญ
: ตำแหน่ง -
: อุดมศึกษา
: ปี 2561
: 1286

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงจำแนกและเงื่อนไขหรือสาเหตุของการ คงอยู่และการออกกลางคัน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร (2) พัฒนารูปแบบการธำรงรักษาแบบ PSPP ด้วยกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความตั้งใจคงอยู่ของนักศึกษา และศึกษาผลการใช้ รูปแบบการธำรงรักษาแบบ PSPP ด้วยกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความตั้งใจคงอยู่ของนักศึกษา วิธีการดำเนินการมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัจจัยเชิงจำแนกการคงอยู่และการออกกลางคัน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็น นักศึกษาคงอยู่ 572 คน และนักศึกษาออกกลางคัน 123 คน ใช้แบบวัดปัจจัยเชิงจำแนกการคงอยู่และการออกกลางคัน แล้วนำมาวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ และศึกษาเงื่อนไขหรือสาเหตุการคงอยู่และการออกกลางคัน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นนักศึกษาคงอยู่ 8 คน และนักศึกษาออกกลางคัน 4 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการธำรงรักษาแบบ PSPP ด้วยกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความตั้งใจคงอยู่ของนักศึกษา เป็นการยกร่างรูปแบบและใช้การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบโดย ผู้เชี่ยวชาญ และศึกษาผลการใช้รูปแบบโดยใช้แบบแผนการทดลองแบบทดสอบก่อนครั้งแรกและทดสอบหลังหลายครั้ง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี 20 คน วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความตั้งใจคงอยู่ของนักศึกษาด้วยสถิติการ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยที่สามารถจำแนกการคงอยู่และการออกกลางคันของนักศึกษา มี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ความผูกพันต่อเป้าหมาย และการรับรู้ความสามารถของตน โดยมีสมการทำนาย Log (Odds) = -4.258 + .081(ความผูกพันต่อเป้าหมาย) + 073

(การรับรู้ความสามารถของตน) และมีสัมประสิทธิ์ในการทำนายภาพรวมได้ ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 82.40 (2) รูปแบบการธำรงรักษาแบบ PSPP ด้วยกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความตั้งใจคงอยู่ของ นักศึกษา มี 4 ขั้น คือ ขั้นเตรียมความพร้อม (Prepare : P) ขั้นกระตุ้น (Stimulate : S) ขั้นการฝึกปฏิบัติ (Practice : P) และขั้น ติดตาม (Pursue : P) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.16 และผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความตั้งใจคงอยู่หลังการใช้รูปแบบทันที่สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ และค่าเฉลี่ย ความตั้งใจคงอยู่หลังการใช้รูปแบบเสร็จสิ้น 1 เดือนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

`

การวิจัยและพัฒนารูปแบบการธำรงรักษาแบบ PSPP ด้วยกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความ ตั้งใจคงอยู่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่ตั้งในเขต กรุงเทพมหานครRESEARCH AND DEVELOPMENT ON THE MODEL OF PSPP RETENTION WITH GROUP DYNAMIC ACTIVITIES TO PROMOTE THE INTENTION OF UNDERGRADUATE STUDENTS TO PERSIST IN REGULAR PROGRAMS AT RAJAMANGALA UNIVERSITY OF TECHNOLOGY IN BANGKOK is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.