รูปแบบการจัดการเรียนรู้สําหรับผู้สูงอายุประเทศไทย เพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
THE MODEL OF THAI ELDERLY LEARNING MANAGEMENT FOR INFORMATION AND COMMUNICATION TECHNOLOGY LITERACY

: ชื่อผู้วิจัย พิมพ์ใจ ทายะติ
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: เทคโนโลยีการศึกษา
: ปี 2560
: 1684

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยเรื่องรูปแบบการจัดการเรียนรู้สําหรับผู้สูงอายุประเทศไทยเพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาและสํารวจขีดความสามารถการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสําหรับผู้สูงอายุไทย 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สําหรับผู้สูงอายุประเทศไทยเพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 3) ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้สําหรับผู้สูงอายุประเทศไทยเพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การดําเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สํารวจขีดความสามารถการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจากกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1) ผู้สูงอายุที่ใช้แอปพลิเคชันไลน์ (LINE) เป็นประจําทุกวัน จาก 10 จังหวัด ที่มีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตสําหรับผู้สูงอายุสูงสุดในประเทศ ไทย จํานวน 400 คน (การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย) 2) ผู้สูงอายุที่ใช้แอปพลิเคชันไลน์ (LINE) เป็นประจําทุกวัน จาก 10 จังหวัด ที่มีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตสําหรับผู้สูงอายุสูงสุดในประเทศไทย จํานวน 15 คน (การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย) 3) ผู้สูงอายุและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุเกินกว่า 3 ปี จาก 10 จังหวัดที่มีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตสําหรับผู้สูงอายุสูงสุดในประเทศไทย จํานวน 10 คน (การสุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง) รูปแบบการจัดการเรียนรู้สําหรับผู้สูงอายุประเทศไทยเพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 1) การรับข้อมูล (Receive) จากการปฏิบัติพฤติกรรมต่างๆ ที่ถูกเรียกว่า

โซเชียล (Social) ในยุคปัจจุบัน ได้แก่ การสืบค้น การสานต่อ การสมัคร การสะสม และการสอนและสร้างสัมพันธ์ 2) การหยุดคิด (Think) เพื่อพิจารณาคิดไตร่ตรองข้อมูลที่ได้รับมาโดยใช้หลักการ 5ส ซึ่งประกอบด้วย สมจริง สร้างประโยชน์ สําคัญ สร้างสรรค์ และ สุภาพเหมาะสม 3) การปฏิบัติ (Act) เป็นพฤติกรรมหลักใหม่ของผู้สูงอายุในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ หลังจากได้ใช้หลัก 5 ส ในการประเมินข้อมูล เพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบ โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบ โดยการทดลองจัดการเรียนรู้ผ่านกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 30 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง และการประเมินยืนยันรูปแบบ สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีขีดความสามารถการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเฉลี่ยในระดับปานกลาง

(X= 2.85) โดยมีขีดความสามารถระดับปานกลางของการเข้าถึง การประเมิน การรวมรวม การจัดการ และระดับต่ำในเรื่องของการสร้าง และขั้นตอนการสร้างรูปแบบและขั้นตอนการประเมินยืนยันรูปแบบ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มีความพึงพอใจระดับสูง (X= 4.32) และผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องในระดับมากที่สุด (X= 0.92)

`

รูปแบบการจัดการเรียนรู้สําหรับผู้สูงอายุประเทศไทย เพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารTHE MODEL OF THAI ELDERLY LEARNING MANAGEMENT FOR INFORMATION AND COMMUNICATION TECHNOLOGY LITERACY is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.