การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการศึกษานอกระบบเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
: ชื่อผู้วิจัย อารักษ์ อินทร์พยุง
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: อื่นๆ
: ปี 2554
: 463
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างตัวบ่งชี้การจัดการศึกษานอกระบบเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2) ประเมินตัวบ่งชี้การจัดการศึกษานอกระบบเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่สร้างขึ้น และ 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างตัวบ่งชี้ มี 2 ขั้นตอนย่อย คือ 1) การกําหนดองค์ประกอบของตัวบ่งชี้จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ตรวจสอบความเหมาะสมของตัวบ่งชี้จากผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ขั้นตอนที่ 2 ประเมินความเหมาะสมของตัวบ่งชี้โดยกลุ่มผู้ใช้หลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 เปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มผู้ใช้หลักสูตรในการนําตัวบ่งชี้ไปปฏิบัติ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษานอกระบบและด้านหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวน 21 คน และกลุ่มผู้ใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยบุคคล 3 กลุ่ม คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จํานวน 104 คน ข้าราชการครู จํานวน 98 คน และบุคลากร กศน.ตําบล จํานวน 246 คน รวมทั้งสิ้นจํานวน 448 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile range) ในการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ใช้สถิติวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ในการประเมินความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ ใช้สถิติ One Way ANOVA และการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ Scheffier Test ในการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการและบุคลากร กศน.ตําบล ผลการวิจัย พบว่า
1. ตัวบ่งชี้การจัดการศึกษานอกระบบเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 17 องค์ประกอบย่อย 92 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) องค์ประกอบหลัก ปรัชญาและหลักการจัดการศึกษา มี 2 องค์ประกอบย่อย 17 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความสอดคล้องกับปรัชญาการจัดการศึกษา 11 ตัวบ่งชี้ และ หลักการจัดการศึกษานอกระบบเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 6 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบหลัก ผลที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนมี 6 องค์ประกอบย่อย 23 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ทักษะในการแสวงหาความรู้และการพัฒนาตนเอง 5 ตัวบ่งชี้ เจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ 4 ตัวบ่งชี้ ความรู้พื้นฐานและความสามารถที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 4 ตัวบ่งชี้ การประกอบอาชีพบนพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ 4 ตัวบ่งชี้ การใช้ทักษะชีวิตจัดการกับปัญหาและสิ่งท้าทาย 3 ตัวบ่งชี้ และการพัฒนาสังคมและชุมชน 3 ตัวบ่งชี้ 3) องค์ประกอบหลัก กระบวนการนําหลักสูตรไปใช้ 8 องค์ประกอบย่อย 33 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การวางแผนหลักสูตร 9 ตัวบ่งชี้ การนำหลักสูตรไปใช้ 22 ตัวบ่งชี้ และการประเมินหลักสูตร 2 ตัวบ่งชี้ 4) องค์ประกอบหลัก ปัจจัยการเกื้อหนุนการจัดการศึกษามี 6 องค์ประกอบย่อย 19 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ภาคีเครือข่าย 3 ตัวบ่งชี้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ 6 ตัวบ่งชี้ เทคโนโลยีและสารสนเทศ 2 ตัวบ่งชี้ การมีส่วนร่วมของชุมชน 3 ตัวบ่งชี้ การประกันคุณภาพการศึกษา 2 ตัวบ่งชี้ และการระดมทรัพยากรเพื่อจัดการศึกษา 3 ตัวบ่งชี้
2. ผลการประเมินตัวบ่งชี้ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู และบุคลากร กศน.ตำบล มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมในการนำตัวบ่งชี้ไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมในการนำตัวบ่งชี้ไปปฏิบัติ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู และบุคลากร กศน.ตำบล มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมในการนำตัวบ่งชี้ไปปฏิบัติ ในภาพรวมแตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ไม่แตกต่างกัน 1 ด้าน คือ ด้านองค์ประกอบหลัก ปรัชญาและหลักการจัดการศึกษา แตกต่างกัน 3 ด้านคือ ด้านองค์ประกอบหลัก ผลที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน ด้านองค์ประกอบหลัก กระบวนการนำหลักสูตรไปใช้ และด้านองค์ประกอบหลักปัจจัยเกื้อหนุนการจัดการศึกษา โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการศึกษานอกระบบเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.