การพัฒนานักวิจัยรุ่นเยาว์
Program for Developing Young Generation Researcher Principal

: ชื่อผู้วิจัย เพียงจันทร์ เศวตศรีสกุล
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2548
: 355

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยจัดเป็นกระบวนการทางปัญญาที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ การอยู่รอดของประเทศจึงต้องทำให้การวิจัยเป็นวิถีชีวิตหรือเป็นวัฒนธรรม การวิจัยจึงควรเกิดขึ้นในทุกพี้นที่ทุกวัย และเยาวชนในวัยเรียนจัดเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมการวิจัย สร้างวัฒนธรรมการดำรงชีวิต จึงควรมีความสามารถในการสร้างความรู้ที่จำเป็น ผสมผสานกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าได้อย่างสมเหตุผลและเป็นผู้มีปัญญาในการเลือกดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพี่อพัฒนาทักษะการวิจัยของเยาวชนวัยเรียน โดยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการวิจัยทุกขั้นตอนร่วมกับการใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้กระบวนการวิจัยของนักเรียนด้วยการใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ การใช้ปัญหาเป็นหลักในการจัดการเรียนรู้และการเรียนรู้ด้วยการทำกิจกรรมโครงการวิจัยผสมผสานกันเป็นฐานการคิดในการพัฒนานักวิจัยรุ่นเยาว์ กลุ่มตัวอย่างนักวิจัยรุ่นเยาว์คัดเลือกโครงการของนักเรียนที่เขียนโครงร่างการวิจัยเบื้องต้น ส่งในเวลาที่กำหนดและทำสัญญา 39 โครงการ จากจำนวน 71 โครงการที่ส่งมาเป็นนักเรียนชั้นประถมปลายและมัธยมศึกษาใน 15 จังหวัด คือ ปัตตานี ตรัง นครศรีธรรมราช กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ชลบุรี อ่างทอง ลพบุรี กำแพงเพชร ขอนแก่น สุรินทร์ รวม 245 คน ครูที่ปรึกษา 64 คน

ในกระบวนการพัฒนานักวิจัยรุ่นเยาว์ ผู้วิจัยกำหนดฉากทัศน์เพี่อให้นักเรียนจินตนาการภาพที่คาดว่าจะต้องเกิดขึ้นและมีโจทย์/คำถามที่นักเรียนต้องตอบเมื่อเข้าไปอยูในสถานการณ์นั้น โดยกำหนดไว้ 5 ภาพ คือ ภาพที่ 1 คือ สถานการณ์ที่แวดล้อมนักเรียน ที่ทำให้นักเรียนตั้งคำถามการวิจัยและเขียนเป็นโครงการ ทำไมจึงสนใจทำโครงงานนี้ จะทำอะไรบ้าง ทำอย่างไร ทำที่ไหน ทำกับใคร และใครเป็นคนทำ ภาพที่ 2 คือ สถานการณ์ที่นักเรียนเสนอโครงร่างการวิจัยในการประชุมเชิงปฎิบัติการ วิทยากรซักถาม และแนะนำให้คิดแก้ปัญหา/คำถามการวิจัยด้วยการใช้ข้อมูลมาพิจารณา สิ่งที่ยังตอบไม่ได้นักเรียนจะกำหนดเป็นวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของตนเองเพี่อหาคำตอบ และรวบรวมเขียนเป็นโครงร่างการวิจัยใหม่ ที่มีข้อมูลที่ครบถ้วนมากกว่าเดิม ภาพที่ 3 คือ สถานการณ์ที่นักเรียนดำเนินโครงการวิจัย ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของกลุ่มที่จะต้องร่วมกันค้นหาคำตอบ ที่สามารถลืบค้นได้จากห้องสมุด อินเตอร์เน็ท ครู/อาจารย์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาพที่ 4 คือ สถานการณ์ที่นักเรียนเสนอรายงาน โครงการวิจัยในการประชุมเชิงปฏิบัติการนักเรียนจะได้เรียนรู้ด้วยกันโดยวิทยากรให้คำแนะนำและสรุปในประเด็นสำคัญ ภาพที่ 5 คือ สถานการณ์ที่นักเรียนเผยแพร่ผลงานวิจัยของตนต่อสาธารณชน การเสนอแบบโปสเตอร์ 34 โครงการ แบบหน้าห้องประชุมใหญ่ที่มีผู้ฟังมากกว่า 300 คน 6 โครงการ ผลการศึกษานักวิจัยรุ่นเยาว์ จำนวน 245 คน และครูที่ปรึกษา 64 คน ดำเนินโครงการวิจัยจนสำเร็จตามที่สัญญาไว้ 39 โครงการ โดยจัดเป็น 3 กลุ่มเรื่อง คือกลุ่มสิ่งประดิษฐ์ 14 โครงการ กลุ่มสิ่งแวดล้อม 13 โครงการ กลุ่มสมุนไพรและสารชีวภาพ 12 โครงการ

จากการสอบถามความคิดเห็นของนักวิจัยรุ่นเยาว์ที่เข้าร่วมการประชุมปฏิบัติการ พบว่า ร้อยละ 100 เห็นด้วยว่าการเข้าร่วมโครงการนี้ (1) ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น (2) ได้รับประสบการณ์เพิ่มขึ้นทุกครั้ง (3) เกิดการเรียนรู้ที่เสริมให้การเรียนปกติในชั้นเรียนดีขึ้น (4) ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ และในจำนวนที่เห็นด้วยนี้นักวิจัยรุ่นเยาว์มีความเห็นด้วยอย่างยิ่งร้อยละ 89.81, 84.71, 62.42 และ 54.78 ตามลำดับ

การประเมินศักยภาพของนักวิจัยรุ่นเยาว์ พบว่า มีความเปลี่ยนแปลงความสามารถเพิ่มขึ้น ตั้งคำถามการวิจัย การเขียนโครงการวิจัยขั้นพื้นฐาน การวางแผน การดำเนินโครงการวิจัยด้วยการสำรวจ การตรวจสอบการทดลอง การประดิษฐ์ การสังเกต การบันทึกสิ่งจำเป็น วิเคราะห์ เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ และเป็นเหตุเป็นผล การสรุปงานและการนำเสนอข้อมูล โดยนักเรียนเขียนระบุความสามารถที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในทุกขั้นตอน สามารถเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชน และสนใจที่จะทำวิจัยอย่างต่อเนื่องในระดับที่ก้าวหน้าขึ้น

`

การพัฒนานักวิจัยรุ่นเยาว์Program for Developing Young Generation Researcher Principal is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.