การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
THE DEVELOPMENT OF MATH - 3C INSTRUCTIONAL MODEL TO DEVELOP BASIC MATHEMATICAL SKILLS OF YOUNG CHILDREN
: ชื่อผู้วิจัย เชวง ซ้อนบุญ
: ตำแหน่ง -
: ปฐมวัย
: ปี 2554
: 1310
บทคัดย่อ (Abstract)
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและผลการใช้รูปแบบการสอน แบบ MATH - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยวิธีดําเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C โดยผู้วิจัยสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วกําหนดองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบสําคัญ 7 ประการ คือ การกระตุ้นความสนใจ (Motivation : M) การเรียนรู้แบบ ปฏิบัติการ (Active Learning : A) การถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning : T) การผสาน เป็นหนึ่งเดียวของศีรษะคือสมอง หัวใจ และมือ (Head, Heart, Hands : H) การเล่นสรรค์สร้าง (Constructive Play : C) การเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ (Constructive Learning : C) และการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning : C) จากนั้นจึงกําหนดขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การกระตุ้นใครรู้ ขั้นที่ 2 การตัดสินใจเลือกเล่น ขั้นที่ 3 การเล่น และขั้นที่ 4 การนําเสนอผลงานต่อมาจึงนํารูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C ที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 คน เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน
ระยะที่ 2 การศึกษาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C โดยผู้วิจัยดําเนินการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C เป็นเวลา 8 สัปดาห์ กําหนดแบบแผนการทดลองเป็นการวิจัยประเภทตกแต่ง-ดัดแปลง (Patch – up Design) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลชลบุรี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จํานวน 37 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลคือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ( One Way analysis of variance : Repeated Measures) และการทดสอบแบบ Least Significant Difference (LSD)
ระยะที่ 3 การนํารูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C ไปใช้ในสภาพจริง โดยครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนอยู่ในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี โรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จํานวน 6 คน นํารูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3c ไปทดลองใช้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการสอนครูปฐมวัย ทุกคนตอบแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนและแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยแบบทดสอบมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.29-0.67 ค่าอํานาจจําแนกตั้งแต่ 0.23-0.92 และ แบบทดสอบทั้งสามชุดมีค่าความเชื่อมั่น 0.80, 0.77 และ 0.77 ตามลําดับ และระยะที่ 3 ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนโดยครูปฐมวัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00-4.80 ซึ่งส่วนใหญ่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2. หลังจากได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งรายด้านทุกด้านและโดยรวมทั้ง 8 ทักษะ สูงกว่าทั้งก่อนการทดลองและหลังการทดลองและระหว่างการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้นทักษะการรู้ค่าจํานวนที่เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าระหว่างการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
3. รูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C ตามความคิดเห็นของครูปฐมวัยที่นํารูปแบบการเรียนการสอนไปทดลองใช้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.50 - 5.00
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยTHE DEVELOPMENT OF MATH - 3C INSTRUCTIONAL MODEL TO DEVELOP BASIC MATHEMATICAL SKILLS OF YOUNG CHILDREN is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.