การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SMILE
THE DEVELOPMENT OF EMOTIONAL QUOTIENT OF PRESCHOOL CHILDREN THROUGH SMILE LEARNING MANAGEMENT MODEL

: ชื่อผู้วิจัย อรัญญา กุฎจอมศรี
: ตำแหน่ง -
: ปฐมวัย
: ปี 2557
: 1970

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SMILE มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SMILE ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุ 5-6 ปี ใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจงจํานวน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SMILE 25 คน และได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 25 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง จํานวน 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 40 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SMILE และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยที่มีค่าความเชื่อมั่นที่คํานวณจาก d เท่ากับ 90

การศึกษาได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SMILE ใช้สําหรับพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยที่แบ่งการจัดการเรียนรู้เป็น 5 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นร้องเพลง (S) 2. ขั้นกระตุ้น ความรู้ (M) 3. ขั้นปฏิสัมพันธ์ (1) 4. ขั้นเรียนรู้ร่วมกัน (L) และ 5. ขั้นประเมินผล (E) จากการประเมินพบว่ารูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมรวม 4.70 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.32 ผลการทดลองนําไปใช้พบว่า หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SMILE ทําให้เด็กมีพัฒนาการความฉลาดทางอารมณ์สูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งรายด้านทุกด้าน คือด้านความฉลาดทางอารมณ์ภายในตนเองและด้านความฉลาดทางอารมณ์ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และโดยรวม (t = 19.88, 22.53 และ 25.40; sig = .00, 100, 00) มีขนาดส่งผล (effect sizes) ต่อคะแนนความฉลาดทางอารมณ์รายด้านและโดยรวม อยู่ในระดับมาก (Cohen's d = 3.98, 4.51 และ 5.08) ในขณะที่หลังการจัดการเรียนรู้แบบปกติในกลุ่มควบคุม ทําให้เด็กมีพัฒนาการความฉลาดทาง อารมณ์สูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทั้งรายด้านทุกด้านและโดยรวมเช่นเดียวกัน (t = 3.07, 3.92 และ 4.22 ; lg = .01, 100, 00) แต่มีขนาดส่งผล (effect sizes) ต่อคะแนนความฉลาดทางอารมณ์รายด้านและโดยรวม อยู่ในระดับปานกลางถึงระดับมาก (Cohen's d = 61, 78 และ 4) และหลังได้รับการจัดการเรียนรู้กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ SMILE มีพัฒนาการความฉลาดทาง อารมณ์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งรายด้านทุกด้านและโดยรวม (t = 17.74, 18.62 และ 19.71 ; sig = .00, 00, .00) ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SMILE มีความเหมาะสมและนําไปใช้พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยได้อย่างมั่นใจ

`

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SMILETHE DEVELOPMENT OF EMOTIONAL QUOTIENT OF PRESCHOOL CHILDREN THROUGH SMILE LEARNING MANAGEMENT MODEL is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.