การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบ 3 V เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย
THE DEVELOPMENT OF 3 V LEARNING MODEL FOR ENHANCEAT YOUNG CHILDREN‘S RESPONSIBILITY

: ชื่อผู้วิจัย จิตรา ชนะกุล
: ตำแหน่ง -
: ปฐมวัย
: ปี 2557
: 1145

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบ 3 V เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบ 3 V เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบ 3 V โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การสร้างรูปแบบการเรียนรู้แบบ 3 V โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยคู่มือและแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 3 V แบบประเมินพฤติกรรมความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัยทำการศึกษานำร่องรูปแบบการเรียนรู้แบบ 3 V จำนวน 2 ครั้ง กับเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 2 ห้อง ๆ ละ 15 คน โรงเรียนมีนบุรี สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานครและโรงเรียนวัดลานบุญ สำนักงานเขตลาดกระบังกรุงเทพมหานคร

ขั้นตอนที่ 2 การทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้แบบ 3 V โดยใช้แบบแผนการวิจัย One-Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กปฐมวัยระดับอนุบาลปีที่ 1 การศึกษา 2556 โรงเรียนวัดสระแกงาม สังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร จำนวน 15 คน ใช้ระยะการทดลอง 7 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล t-test for independent samples

ขั้นตอนที่ 3 การขยายผลรูปแบบการเรียนรู้แบบ 3V โดยให้ครูปฐมวัยจำนวน 13 คน ของโรงเรียนโรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1 อำเภอคลองหลวง สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองท่าโขล โรงเรียนเทศบาล 1 (ขจรเนติยุทธ ) อําเภอลำลูกกา โรงเรียนทองพูลอุทิศ โรงเรียนวัดแสงสรรค์ โรงเรียนทิพากรวิทยาลัย อำเภอธัญบุรี โรงเรียนวัดพืชอุดม โรงเรียนมูลนิธิภูมิตะวันวิทยา อำเภอลำลูกกา โรงเรียนทิพากรวิทยาลัยจังหวัดปทุมธานี ปีการศึกษา 2556 นำรูปแบบการเรียนรู้แบบ 3 V ไปใช้สอนกับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1

ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

1. รูปแบบการเรียนรู้แบบ 3 V เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัยประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 3 ขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นจัดสิ่งแวดล้อมที่เน้นคุณค่า ประกอบด้วยกิจกรรมคือ 1. กําหนดแหล่งเรียนรู้ 2.จัดประสบการณ์ 3.ใช้คําถามกระตุ้นคิด 2) การตรวจสอบความถูกต้อง ประกอบด้วยกิจกรรมคือ 1.สะท้อนการเรียนรู้ 2.แลกเปลี่ยน ความถูกต้อง 3) การสรุปคุณธรรม ประกอบด้วยกิจกรรมคือ 1. บ่งชี้ข้อความรู้ความรับผิดชอบ 2. สรุปคุณค่าของความรับผิดชอบผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับดีมากที่สุด มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.70

2. การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้แบบ 3V เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัยผลการประเมินพบว่า 1) เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมความรับผิดชอบหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ 3 V ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ครูปฐมวัยที่ทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ 3 V เห็นว่ารูปแบบการเรียนมีความรู้เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่าง –5.00 สามารถนําไปใช้เป็นรูปแบบ 4.40 การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัยได้

`

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบ 3 V เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัยTHE DEVELOPMENT OF 3 V LEARNING MODEL FOR ENHANCEAT YOUNG CHILDREN‘S RESPONSIBILITY is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.