การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLAY เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย
THE DEVELOPMENT OF PLAY LEARNIN MANAGEMENT MODEL TO IMPROVE THE SOCIAL SKILLS OF PRESCHOOL CHILDREN

: ชื่อผู้วิจัย เยาวนุช ทานาม
: ตำแหน่ง -
: ปฐมวัย
: ปี 2557
: 1400

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLAY สำหรับพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย โดยสร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และศึกษาผลการส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นเด็กนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุ 5-6 ปี ปีการศึกษา 2555 จำนวน 76 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 38 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 38 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ใช้เวลาทดลอง จำนวน 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 45 นาที เครื่องมือทดลองคือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLAY เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย เครื่องมือวัดคือแบบประเมินพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย มีค่าความเชื่อมั่น = .89

ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLAY ที่สร้างขึ้นมี 4 ขั้น ตอนคือ ขั้นวางแผน(P) ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (L) ขั้นลงมือปฏิบัติกิจกรรม (A) และขั้นแสดงความยินดี (Y) มีความเหมาะสมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.51) และพบว่า หลังการทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLAY ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีคะแนนทักษะทางสังคมรายด้านทุกด้านและโดยรวมสูงขึ้น อย่างชัดเจน (t=35.03, 29.95, 40.46, 27.17 และ 40.56; Sig=0.0) และมีขนาดส่งผลต่อ (effect sizes) คะแนนทักษะทางสังคมแต่ละด้านและโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Cohen’s d=5.68, 4.86, 6.56, 4.41 และ 6.58) ในขณะที่หลังการจัดการเรียนรู้แบบปกติในกลุ่มควบคุม ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีคะแนนทักษะทางสังคมรายด้านทุกด้านและโดยรวมสูงขึ้น อย่างชัดเจนเช่นเดียวกัน (t=17.47, 16.59,16.96, 16.75 และ 18.91; Sig=0.0) แต่มีขนาดส่งผลต่อ (effect sizes) คะแนนทักษะทางสังคมรายด้านและโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Cohen’s d=2.83, 2.69, 2.75, 2.72 และ 3.07) และหลังการจัดการเรียนรู้รูปแบบ PLAY ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีทักษะทางสังคมรายด้านทุกด้านและโดยรวมสูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างชัดเจน (F1,78=100.67, 143.83, 170.57, 222.10 และ175.65; Sig=0.0) และการจัดการเรียนรู้ รูปแบบ PLAY และแบบปกติ ส่งผลแตกต่างกันในระดับสูงต่อคะแนนทักษะทางสังคมรายด้านทุกด้านและโดยรวมที่ปรับแก้ ตามลำดับดังนี้ ด้านการทำงานเป็นกลุ่ม 3.31 ด้านการอยู่ร่วมกับผู้อื่น 2.97 ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 3.66 และด้านการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น 2.74 และโดยรวม 3.73 (Cohen’s d=3.31, 2.97, 3.66, 2.74 และ 3.73)

`

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLAY เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยTHE DEVELOPMENT OF PLAY LEARNIN MANAGEMENT MODEL TO IMPROVE THE SOCIAL SKILLS OF PRESCHOOL CHILDREN is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.