การบริหารงานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไทย: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสยาม

: ชื่อผู้วิจัย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิพนธ์ ศุขปรีดี
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: อุดมศึกษา
: ปี 2550
: 426

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

มหาวิทยาลัย ๑๐ อันดับแรกของโลกมีระบบบริหารการวิจัยในรูปแบบศูนย์วิจัยเฉพาะทาง (Excellent Center) มหาวิทยาลัยระดับ ๔ ของโลก คือ มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด มีศูนย์วิจัยเฉพาะทางกว่า ๑๐๐ ศูนย์ และสถาบันเทคโนโลยีเมสซาชูเสทมีงบประมาณวิจัยปีการศึกษา ๒๕๔๘ ประมาณ ๕,๐๐๐ ล้านบาท มหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีระบบบริหารงานวิจัยในระดับมหาวิทยาลัย

มากที่สุดในปีการศึกษา ๒๕๔๗ สถาบันอุดมศึกษาไทย ๒๑๔ แห่ง รายงานและทาง สมศ. วิเคราะห์แล้ว พบว่ามีงานวิจัยของอาจารย์ทั้งสิ้น ๓๕๙ โครงการ มหาวิทยาลัยไทยต้องการ (๑) มีโอกาสร่วมวิจัยกับนักวิจัยระดับชาติและผู้รับรางวัลโนเบล (๒) ต้องการความคล่องตัวในการใช้งบประมาณการวิจัย (๓) อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏต้องการที่ปรึกษางานวิจัย (๔) มหาวิทยาลัยเอกชนต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณแผ่นดินเพื่อการวิจัยเสมอภาคกับมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ผลการทดลองระบบนวัตกรรมการบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยสยาม พบว่าเมื่อปีการศึกษา ๒๕๔๘ มีโครงการวิจัยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการระดับมหาวิทยาลัยกว่า ๑๐๐ โครงการ (๕) มหาวิทยาลัยสยามร่วมมือเพื่อพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัยโดยจัดการบริหารระบบการเรียนการสอนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับการบริหารงานวิจัยโดยพัฒนาการเรียนการสอนระบบ Research based ร่วมกับมหาวิทยาลัย Allborg ที่เรียกว่า Problem Based และพัฒนาความร่วมมือการจัดการเรียนการสอนกับสภาอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมการพิมพ์ โรงพยาบาลธนบุรี และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

`

การบริหารงานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไทย: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสยาม is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.