ติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch) ภาคตะวันออก
Child Watch in the Eastern Region
: ชื่อผู้วิจัย ผศ.ฐิติมาวดี เจริญรัชต์
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: อื่นๆ
: ปี 2550
: 516
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาวการณ์เด็กและเยาวชนในระดับจังหวัดโดยอาศัยตัวบ่งชี้คัดสรรการสำรวจ พฤติกรรมเด็ก ตลอดจนกรณีศึกษาปัญหาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ภาคตะวันออก วิเคราะห์รูปแบบของปัญหาและปัจจัยเสี่ยง รวมถึงการค้นหาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนรวมและรูปแบบการทำงานร่วมกันที่ยั่งยืนระหว่างองค์กร หน่วยงานและบุคคลในพื้นที่ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีประสิทธิภาพและนำผลจากการวิจัยไปผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวในระดับจังหวัด ตลอดจนให้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายอันจะนำไปสู่การดำเนินยุทธศาสตร์ด้านเด็กและเยาวชนในระดับพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบบันทึกข้อมูลทุติยภูมิตามกรอบตัวบ่งชี้ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านการศึกษา และด้านปัญหาเด็กและเยาวชน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และแบบสำรวจพฤติกรรมเด็กและเยาวชนระดับประถมศึกษา-อุดมศึกษา จำนวน 15,270 คน และทำกรณีศึกษาเพื่อศึกษาปัญหาเชิงลึกรายกรณี ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาวการณ์เด็กและเยาวชน ด้านสุขภาพเด็กระดับประถมศึกษามีความเครียดจนนอนไม่หลับร้อยละ 26.6 และเพิ่มขึ้นตามระดับจนถึงร้อยละ 43.3 ในระดับอุดมศึกษา และมีภาวะความเสี่ยงด้านการบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลมและอาหาร fast food ใช้เวลาดูทึวีมากกว่าออกกำลังกาย เด็กระดับอุดมศึกษาดื่มเหล้าเบียร์ ร้อยละ 47.17 สูบบุหรี่ ร้อยละ 20.42 และคิดทำศัลยกรรม ร้อยละ 22.78 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กได้รับบาดเจ็บจากประสบอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ 25,311 คน ด้านการศึกษา พบว่า เด็กมีโอกาสเรียนต่อระดับ ม.4 ร้อยละ 88.68 และเรียนต่อระดับอุดมศึกษา ร้อยละ 72.33 องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณทางการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชน ร้อยละ 5.17-10.13 ของงบประมาณของหน่วยงาน
พบภาวะการขาดแคลนครูในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 16.32 ระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 22.72 เด็กประถมศึกษาส่วนใหญ่ทำการบ้าน อ่านหนังสือ และเรียนพิเศษ โดยใช้เวลาเรียนพิเศษมากที่สุด ส่วนเด็กระดับมัธยม-อุดมศึกษา ทำกิจกรรมการเรียนรู้น้อยกว่าเด็กประถมศึกษา นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมการโดดเรียน และการลอกการบ้านหรือลอกข้อสอบเพื่อน ด้านสังคม เด็กมีความสัมพันธ์กับครอบครัวและศาสนาลดลงตามระดับชั้น มีความสัมพันธ์กับสื่อและเทคโนโลยีและมีพถติกรรมดูสื่อโป๊ เล่นการพนันเพิ่มขึ้นตามระดับชั้น เด็กอาชีวศึกษา-อุดมศึกษามีเพศสัมพันธ์แล้วร้อยละ 33.42-39.73 ยอมรับการอยู่ก่อนแต่งร้อยละ 53.37-60.76 เด็กอายุต่ำกว่า 19 ปี มาทำคลอดที่โรงพยาบาล 6,231 คนตลอดปี และเด็กกระทำผิดถูกส่งเข้าสถานพินิจ จำนวน 3,484 คน
2. รูปแบบของปัญหาที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่เป็นต้นเหตุของปัญหา ได้แก่ ห่างพ่อแม ใกล้เพื่อน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เล่นพนัน และสื่อโป๊ เป็นสาเหตุของการมีเพศสัมพันธ์ และพบรูปแบบของปัญหาเด็กและเยาวชนมีลักษณะเป็นสายพานลำเลียงความเจ็บป่วยทางสังคม
3. ปัจจัยการเสริมสร้างและพัฒนาเด็กและเยาวชน ได้แก่ ครอบครัวและเพื่อน การศึกษา ศาสนา การจัดระเบียบพื้นที่และการควบคุมตามกฎหมาย การใช้สื่อและเทคโนโลยีอย่างเท่าทัน
4. รูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ต้องมีการกำหนดนโยบายให้ชัดเจนและทำงานแบบบูรณาการ
5. การขับเคลื่อนในระดับภาคและจังหวัด นำผลการวิจัยเป็นข้อมูลพื้นฐานการจัดทำยุทธศาสตร์เมืองน่าอยู่ของจังหวัด
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กและเยาวชน คือ การขจัดร้าย ขยายดี มีภูมีคุ้มกันใน 4 คุณภาพสำหรับเด็ก (4 Q for kid) ครอบครัวคุณภาพ การศึกษาคุณภาพ สื่อคุณภาพและพื้นที่คุณภาพ
ติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch) ภาคตะวันออกChild Watch in the Eastern Region is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.