รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
The Development of Appropriate Local Learning Model in Three Southern Border Provinces

: ชื่อผู้วิจัย ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2550
: 600

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

โครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ ภายใต้สนับสนุนของสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย เป็นโครงการที่ดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายน 2548 - สิงหาคม 2550 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะค้นหาคำตอบร่วมกันกับครูและผู้บริหารโรงเรียนจากทั้งโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม โรงเรียนประถมและมัธยมของรัฐ ตลอดจนโรงเรียนตาดีกาและ สถาบันปอเนาะ เกี่ยวกับรูปแบบและแนวทางการจัดการศึกษาที่สามารถตอบสนองความต้องการทางสังคมวัฒนธรรมของท้องถิ่น โครงการนี้มีกระบวนการดำเนินงาน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 (6 เดือน) คือการสำรวจและศึกษาสภาพบริบททางสังคมวัฒนธรรมของพื้นที่และโรงเรียนในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส รวมถึงการร่วมกับโรงเรียนนำร่อง 20 โรง สำรวจสภาพปัญหาและความสนใจในการเรียนรู้ของเด็กเพื่อมาออกแบบการเรียนรู้ร่วมกันจนได้รูปแบบที่หลากหลายที่คาดว่าจะตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ระยะที่ 2 (12 เดือน) เป็นกระบวนการทำงานเชิงลึกสนับสนุนให้โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายได้ดำเนินงานนำร่องนำรูปแบบไปทดลองใช้ ทั้งในมิติของการศึกษาสายสามัญ การศึกษาศาสนา และการศึกษาสายอาชีพ พร้อมๆ กับการติดตาม นิเทศและเสริมพลัง จากทีมวิจัยระดับจังหวัด ส่วนในการทำงานระยะที่ 3 (6 เดือน) เป็นการกระบวนการติดตามและประเมินผล ปรับปรุงรูปแบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และถอดบทเรียนความรู้เพื่อสรุปผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในภาพรวมของโครงการต่อไป

ผลของการดำเนินงานในช่วงเวลากว่า 2 ปี ได้ค้นพบรูปแบบการจัดการศึกษาที่หลากหลาย ทั้งรูปแบบของการปรับกระบวนการเรียนรู้เพื่อนำหลักศาสนาอิสลามเข้าไปสู่จิตใจและวิถีการดำเนินชีวิตของเด็กผ่านรูปแบบการสอนที่หลากหลาย อาทิ การสอนอิสลามศึกษาและศาสนาศึกษาควบคู่สามัญศึกษา ทั้งโดยรูปแบบ "สองระบบ” คือ การนำเนื้อหาหลักสูตรอิสลามศึกษามาจัดเป็นการเฉพาะโดยปรับให้เข้ากับช่วงชั้นต่างๆ ในโรงเรียนของรัฐและพัฒนาให้สามารถเทียบวัดมาตรฐานระดับความรู้ทางศาสนาได้ หรือรูปแบบเสริมความเข้มแข็งโดยการปรับรูปแบบการสอนที่เพิ่มบทบาทการสอนสายสามัญที่เข้มแข็งขึ้นควบคู่กับการสอนศาสนาที่เป็นวิถีหลักของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ตลอดจนการพัฒนารูปแบบ "บูรณาการ” หรือการบูรณาการการเรียนรู้บนฐานพหุวัฒนธรรมศึกษา รวมถึงการเรียนรู้พหุภาษาเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะทางที่หลากหลายเพื่อการเรียนรู้ต่อไปในระดับสูงและการทำงานในอนาคต และการจัดการเรียนรู้สหวิทยาการเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเป็นองค์รวมที่สอดคล้องกับความสนใจและภายใต้บริบทของท้องถิ่น

นอกเหนือจากข้อค้นพบข้างต้นแล้ว ยังพบว่าการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการมีงานทำเป็นอีกมิติหนึ่งที่ทวี ความสำคัญยิ่งขึ้นโดยโรงเรียนในโครงการได้มีการพัฒนารูปแบบการสอนอาชีพต่างๆ อย่างหลากหลาย ทั้งรูปแบบ “ทักษะทั่วใป” คือ การสอนทักษะพื้นฐานแรงงานเพื่อตลาดงานสมัยใหม่ใปจนถึงรูปแบบ “ท้องถิ่น” หรือการสอนอาชีพที่เชื่อมโยงกับตลาดท้องถิ่น รูปแบบการสอนทักษะอาชีพปรากฏทั้งในแง่การพัฒนาหลักสูตรกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี รวมถึงการจัดในรูปแบบการเรียนรู้ผ่านชมรมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งการสอนอาชีพนอกจากจะส่งเสริมการใช้เวลาว่างและพัฒนาทักษะการมีงานทำของผู้เรียนแล้ว ยังส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน โรงเรียน และชุมชนในการได้เข้ามาร่วมในกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ และร่วมส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กๆ ด้วย

นอกจากนี้โครงการยังได้ให้ข้อค้นพบเกี่ยวกับการเรียนรู้เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีฃองผู้เรียน โดยเฉพาะการพัฒนาระบบดูแลผู้เรียนอย่างเป็นองค์รวม ทั้งรูปแบบ “เจาะกลุ่มเสี่ยง” ที่เน้นการส่งเสริมการเรียนรู้หลักสูตรพิเศษสำหรับเด็กเสี่ยงที่มีความต้องการการช่วยเหลือดูแลและส่งเสริมการเรียนรู้เป็นกรณีเฉพาะ ทั้งรูปแบบ “หน่วยครอบครัว” ที่เน้นการจำลองความสัมพันธ์ของระบบครอบครัวมาอยู่ในการจัดการเรียนรู้และดูแลผู้เรียนของโรงเรียน ในบางแห่งยังพัฒนาให้มี “บ้านหลังเรียน” ให้เป็นพื้นที่กิจกรรมทางเลือกต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ในช่วงเวลาว่าง รวมทั้งชักชวนเด็กที่มีพฤติกรรมเสี่ยงให้มีกิจกรรมดีๆ ทำอย่างหลากหลายหลังเลิกเรียนท่ามกลางกลุ่มเพื่อนสร้างสรรค์

ทั้งนี้บทเรียนสำคัญที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จคือ การอาศัย “พลังเครือข่ายครู” เป็นผู้นำการขับเคลื่อนการ เปลี่ยนแปลงภายใต้การร่วมผลักดันและสนับสนุนของผู้บริหารคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำศาสนา รวมถึงแรงหนุนจากนักวิชาการ ภายนอก เครือข่ายการเรียนรู้ ตลอดจนการสนับสนุนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมถึงพลังจากครอบครัวและชุมชนที่ถึอเป็นต้นทุนทางสังคมที่สำคัญยิ่งต่อการร่วมกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การศึกษาระดับพื้นที่ (area-based strategy) ให้เป็นการศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อการเจริญงอกงามอย่างมั่นคงของเด็กๆ ในท้องถิ่นต่อไป

โดยสรุปข้อคิดเชิงยุทธศาสตร์จากโครงการไดัชี้ให้เห็นความจำเป็นจะต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างหลักสูตรพื้นฐาน ศาสนา และอาชีพตลอดจนการเชื่อมต่อระหว่างการศึกษาระดับและประเภทต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในโรงเรียนของรัฐและเอกชน โรงเรียน ตาดีกา การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาในการใช้ทรัพยากร การศึกษาร่วมกันให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้รูปแบบการผสมผสานเชื่อมโยงการสอนสายสามัญ การสอนหลักศาสนา และการสอนอาชีพ อย่างกลมกลืนดังกล่าว สามารถนำไปขยายผลและประยุกค์ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่ที่หลากหลาย บนฐานการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายของกลุ่มครูและโรงเรียนแต่ละพื้นที่และการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเข้มแข็ง พร้อมด้วยการลงทุนและการจัดการอย่างถึงพร้อมจากภาครัฐต่อใป

`

รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้The Development of Appropriate Local Learning Model in Three Southern Border Provinces is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.