การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนเรียนรวม ตามกระบวนการอาร์ทีไอ (Response to Instruction : RTI)
THE DEVELOPMENT OF A MODEL FOR ENHANCING THE READING AND WRITINGSKILLS OF STUDENTS IN GRADE ONE IN AN INCLUSIVE SCHOOL THROUGH THE RTI (RESPONSE TO INSTRUCTION) PROCESSAN

: ชื่อผู้วิจัย เกศรินทร์ ศรีธนะ
: ตำแหน่ง -
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2559
: 2146

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนเรียนรวมตามกระบวนการอาร์ทีไอ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนเรียนรวม ตามกระบวนการอาร์ทีไอ และเพื่อประเมินความ เหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามกระบวนการอาร์ทีไอ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ครูที่สอนในโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ครูภาษาไทย ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพิเศษ ครูชำนาญการศึกษาพิเศษ ที่มีประสบการณ์ในการทำงานกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษและโรงเรียนเรียนรวม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มีทั้งหมด 9 ชนิด ได้แก่ 1) รูปแบบการดูแลชั้นเรียนเรียนรวมและแบบประเมินความพึงพอใจ 2) ชุดเทคนิคการสอนเพื่อ สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นเรียนรวมพร้อมคู่มือการใช้พร้อมแบบประเมินความพึงพอใจ 3) การผลิตสื่อและจัดอบรมการใช้สื่อการสอนพร้อมแบบประเมินความพึงพอใจ 4) ชุดการสอนนักเรียนพร้อมคู่มือการใช้และแบบประเมินความพึงพอใจ 5) คู่มือการดูแลนักเรียนในชั้นเรียนรวม พร้อมแบบประเมินความพึงพอใจ 6) เทคนิคการสอนเฉพาะสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านการเขียนพร้อมแบบประเมินความพึงพอใจ 7) แบบประเมินด้านการอ่านการเขียนก่อนและหลังเรียน 8) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียนตามแนววิธีการสอนแบบบูรณาการ 9) ประเมินความสามารถด้านการอ่าน การเขียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และ ใช้สถิติค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)

ผลการศึกษา

1. คุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามกระบวนการอาร์ทีไอ อยู่ในระดับดี โดยรูปแบบการดูแลชั้นเรียน รวมมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ .50 ชุดเทคนิคการสอนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน ในชั้นเรียนรวมพร้อมคู่มือการใช้มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ .67 แบบประเมินความสามารถ ด้านการอ่านการเขียนมีความเที่ยงตรงระหว่าง 0.820-0.96 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ชุดสื่อและชุดฝึกอบรมการใช้สื่อการสอนพร้อมคู่มือการใช้มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ .60-1 คู่มือการดูแลนักเรียนในชั้นเรียนรวมมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ .50-1 ชุดเทคนิคการสอนเฉพาะสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านการเขียน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ .67-1 รูปแบบประเมินความ พึงพอใจของครูผู้สอนและผู้ปกครองต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ .80-1

2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนเรียนรวมตามกระบวนการอาร์ทีไอ

2.1 ความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่อง ด้านการอ่าน การเขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1 สูงขึ้น

2.2 ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการช่วยเหลือด้านการอ่าน การเขียนของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก

3. ความเหมาะสมของการนารูปแบบการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการ เรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับดี

`

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนเรียนรวม ตามกระบวนการอาร์ทีไอ (Response to Instruction : RTI)THE DEVELOPMENT OF A MODEL FOR ENHANCING THE READING AND WRITINGSKILLS OF STUDENTS IN GRADE ONE IN AN INCLUSIVE SCHOOL THROUGH THE RTI (RESPONSE TO INSTRUCTION) PROCESSAN is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.