องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Strategic Management Factors and Indicators of the Offices of the Private Education in the Southern Border Provinces

: ชื่อผู้วิจัย ดร.สุกรี แวมูซอ
: ตำแหน่ง -
: อื่นๆ
: ปี 2562
: 418

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods) เป็นแบบแผนลำดับขั้น (Sequential Design) ประกอบด้วย 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการกำหนดองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการค้นคว้าจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 15 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้เกณฑ์การวิเคราะห์เนื้อหาเป็นความถี่ของประเด็นเนื้อหาไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ให้ข้อมูล ระยะที่ 2 วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร ข้าราชการครูและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดและอำเภอในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 480 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ได้ค่าดัชนี CVI เท่ากับ 0.96 จากนั้นนำมาปรับปรุงและทดลองใช้กับกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน หาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Reliability) โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าเท่ากับ .917 และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) สกัดปัจจัยด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอล ด้วยวิธีแวริแมกซ์

ผลการศึกษา พบว่า

1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานการศึกษาเอกชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยจำนวน 7 องค์ประกอบ 70 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการนำองคกร 10 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ 10 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 ด้านผูรับบริการและผูมีสวนได้ส่วนเสีย 8 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 ด้านการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 10 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 ด้านการพัฒนาบุคลากร 8 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 6 ด้านการมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ 11 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 7 ด้านการประเมินผลการดำเนินการ 12 ตัวบ่งชี้

2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ได้ 6 องค์ประกอบ 56 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการปฏิบัติงานและประเมินผล มี 24 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ด้านผู้รับบริการและผูมีสวนได้ส่วนเสีย มี 8 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 ด้านการนำองค์กร มี 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ มี 9 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 ด้านการพัฒนาบุคลากร มี 4 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 6 ด้านการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ มี 4 ตัวบ่งชี้

`

องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้Strategic Management Factors and Indicators of the Offices of the Private Education in the Southern Border Provinces is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.