กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Strategic Management Supporting a World-Class Standard Islamic Private Schools in Three Southern Border Provinces

: ชื่อผู้วิจัย ดร.มัสนะห์ สารี
: ตำแหน่ง -
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2561
: 841

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยแบบผสมวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมในการนำกลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปใช้ ดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 108 โรงเรียน จากผู้ให้ข้อมูล 411 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีจัดเรียงลําดับความต้องการจําเป็น ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (SWOT Analysis และ TOWS Matrix) จากผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ ผู้อำนวยการและหัวหน้าวิชาการโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 21 คน ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมในการนำกลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปใช้ โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและแบบสอบถาม จำนวน 9 คน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัจจุบันการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการนำองค์กร รองลงมาด้านผลลัพธ์ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในภาพรวมมีความพึงประสงค์อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ด้านที่มีความพึงประสงค์ในการปฏิบัติอยู่ในระดับมากสูงสุดเท่ากัน มี 2 ด้าน คือ ด้านการนำองค์กรและด้านผลลัพธ์

2. การกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้กำหนดกลยุทธ์หลัก กลยุทธ์รอง 4 ประเภท คือกลยุทธ์เชิงรุก เชิงป้องกัน เชิงแก้ไข และเชิงรับได้ทั้งสิ้น 28 กลยุทธ์หลัก 85 กลยุทธ์รอง

3. การตรวจสอบความเหมาะสมในการนำกลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปใช้ ทุกกลยุทธ์หลักและกลยุทธ์รองที่กำหนดมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ ทั้งนี้มีการปรับแก้และรวมกลยุทธ์ได้ทั้งสิ้น 4 กลยุทธ์หลัก 27 กลยุทธ์รอง

`

กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้Strategic Management Supporting a World-Class Standard Islamic Private Schools in Three Southern Border Provinces is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.