รูปแบบการบริหารความเสี่ยงของงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้
Risk Management Model of Academic Affairs in Basic Education Schools under the Office of Basic Education Commission in Southern Thailand

: ชื่อผู้วิจัย ดร.สุภาวดี ดวงจันทร์
: ตำแหน่ง -
: อื่นๆ
: ปี 2559
: 385

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยนี้เป็นวิจัยที่ดำเนินการโดยอาศัยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารความเสี่ยงของงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคใต้ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารความเสี่ยงของงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ งานวิจัยนี้แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 มีการดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์เอกสาร ขั้นตอนที่ 2 สัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 สนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน เพื่อพิจารณาเพิ่มเติมองค์ประกอบและตัวแปรความเสี่ยงของงานวิชาการ ขั้นตอนที่ 4 คัดกรองตัวแปรขององค์ประกอบการบริหารความเสี่ยงของงานวิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน จากนั้นผู้วิจัยสังเคราะห์และสรุปเป็นตัวแปรขององค์ประกอบการบริหารความเสี่ยงของงานวิชาการระยะที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน คือ ผู้บริหารโรงเรียนและหัวหน้างานวิชาการ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกบาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ จำนวน 330 โรงเรียน โดยส่งแบบสอบถาม 660 ฉบับ ได้รับคืน 548 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 83.03

ผลการวิจัยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. องค์ประกอบการบริหารความเสี่ยงของงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคใต้ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ความเสี่ยงด้านการบริหารหลักสูตร องค์ประกอบที่ 2 ความเสี่ยงด้านการจัดการเรียนการสอน องค์ประกอบที่ 3 ความเสี่ยงด้านการวัดและประเมินผล

2. รูปแบบการบริหารความเสี่ยงของงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐานภาคใต้โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

2.1 องค์ประกอบที่ 1 ความเสี่ยงด้านการบริหารหลักสูตร มีการบริหารความเสี่ยงด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ระบุความเสี่ยง 2) ประเมินความเสี่ยง 3) การจัดการความเสี่ยง และ 4) การสรุปและรายงานผล ประกอบด้วย ความเสี่ยง 4 ตัวแปร คือ (1) ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา (2) การใช้หลักสูตรสถานศึกษา (3) การมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรและ (4) การประเมินผลและการพัฒนาหลักสูตร

2.2 องค์ประกอบที่ 2 ความเสี่ยงด้านการจัดการเรียนการสอน มีการบริหารความเสี่ยงด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ระบุความเสี่ยง 2) ประเมินความเสี่ยง 3) การจัดการความเสี่ยง และ 4) การสรุปและรายงานผล ประกอบด้วย ความเสี่ยง 4 ตัวแปร คือ (1) ความรู้ ความสามารถของครูในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ (2) วิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (3) การใช้สื่อการสอน และ (4) การนิเทศการสอน

2.3 องค์ประกอบที่ 3 ความเสี่ยงด้านงานวัดและประเมินผล มีการบริหารความเสี่ยงด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ระบุความเสี่ยง 2) ประเมินความเสี่ยง 3) การจัดการความเสี่ยง และ 4) การสรุปและรายงานผล ประกอบด้วย ความเสี่ยง 3 ตัวแปร คือ (1) การวางแผนการวัดผลและประเมินผลระดับสถานศึกษา (2) การดำเนินการวัดผลและประเมินผล และ (3) การสรุปรายงานผล

`

รูปแบบการบริหารความเสี่ยงของงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้Risk Management Model of Academic Affairs in Basic Education Schools under the Office of Basic Education Commission in Southern Thailand is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.