การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน
The Development of School Administrative Model for Achieving Internal Quality Assurance of Secondary Schools in South Andaman Area
: ชื่อผู้วิจัย วัชรศักดิ์ สงค์ปาน
: ตำแหน่ง -
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2558
: 405
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน 3) เพื่อตรวจสอบรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการนำเสนอรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามันไปใช้ โดยมีวิธีวิจัย 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน และตรวจสอบยืนยันเบื้องต้น ระยะที่ 3 การตรวจสอบรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน ระยะที่ 4 การศึกษาแนวทางการนำเสนอรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน สรุปผลดังนี้ โรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามันบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายใน โดยยึดหลักการ วัตถุประสงค์ ระบบบริหารโรงเรียน และใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนในระดับมาก แต่ยังมีปัญหา – อุปสรรคและความต้องการพัฒนารูปแบบในระดับมาก แต่ยังไม่ถึงระดับมากที่สุด ทั้งๆ ที่โรงเรียนมัธยมศึกษาและชุมชนภาคใต้ฝั่งอันดามันมีศักยภาพสูง ข้อเสนอแนะคือ โรงเรียนควรมีการยืดหยุ่นในการบริหารโรงเรียนให้สอดคล้องและเหมาะสมกับระบบ CIPOO คือ บริบทของโรงเรียน ปัจจัยนำเข้า กระบวนการบริหาร ผลผลิต และผลลัพธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องคำนึงถึงนโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียน การมีส่วนร่วมของชุมชนและการใช้กลยุทธ์ในการจัดการศึกษา คือ ต้องรีบพัฒนาคุณภาพภายในของโรงเรียนที่ไม่ใช่ยอดนิยมเป็นพิเศษ ส่วนที่เป็นยอดนิยมอยู่แล้วก็ต้องรักษาไว้ให้เป็นยอดนิยมยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน และตรวจสอบยืนยันเบื้องต้นได้ผลสรุปดังนี้ รูปแบบมีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านหลักการ ด้านวัตถุประสงค์ ด้านระบบงานและกลไก ด้านเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ประกอบด้วยองค์ประกอบด้านการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 83 กิจกรรม คือ องค์ประกอบด้านหลักการ 37 กิจกรรม วัตถุประสงค์ 4 กิจกรรม ระบบงานกลไก 31 กิจกรรม และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ 11 กิจกรรม
3. ผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) จำนวน 2 รอบ พบว่า รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีค่ามัธยฐานมากกว่า 3.5 ทุกข้อ และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์น้อยกว่า 1.5 ทุกข้อ แสดงว่าผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นต่อรายละเอียดด้านองค์ประกอบรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามันในระดับมากและมากที่สุดอย่างเป็นเอกฉันท์ และผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา พบว่า รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีค่าดัชนีความความเที่ยงตรงเนื้อหาเป็นรายข้อ I-CVI ไม่ต่ำกว่า .85 ทุกข้อและดัชนีความเที่ยงตรงตามเนื้อหาทั้งฉบับ S-CVI เท่ากับ .99 นอกจากนั้นยังนำรายละเอียดต่างๆ มาสร้างเป็นร่างแผนภูมิ ANDAMAN MODEL
4. ผลการศึกษาแนวทางการนำเสนอรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน ผู้วิจัยนำเสนอรูปแบบการบริหารในรูป Model มีชื่อว่า ANDAMAN’S “POST” MODEL หรือ “รูปแบบโพสต์แห่งอันดามัน” ที่ประกอบด้วย หลักการ (Principles) วัตถุประสงค์ (Objectives) ระบบ (Systems) และ งานตามเงื่อนไข (Tasks) และวิธีการนำรูปแบบดังกล่าวไปใช้ประกอบด้วย “คำชี้แจง” และ “รายละเอียด” ของรูปแบบที่ค้นพบ
การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามันThe Development of School Administrative Model for Achieving Internal Quality Assurance of Secondary Schools in South Andaman Area is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.