องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เขตภาคใต้
Factors Affecting Decision Making of Students to Study in Private Universities in the South of Thailand

: ชื่อผู้วิจัย ดร.เชาวนี แก้วมโน
: ตำแหน่ง -
: อุดมศึกษา
: ปี 2558
: 291

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เขตภาคใต้ เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพจริง (Concurrent Validity) ขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เขตภาคใต้ โดยยืนยันกับกลุ่มผู้รู้ชัด (Known Group) และเพื่อศึกษากลวิธีพัฒนาตัวบ่งชี้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เขตภาคใต้ ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน โดยมีการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและรวบรวมผลการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group) ในหัวข้อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เพื่อกำหนดองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ได้ค่า CVI เท่ากับ .94 นำไปทดลองใช้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เขตภาคใต้ จำนวน 50 คน ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .982 จากนั้น นำแบบสอบถามไปเก็บข้อมูลจากนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 จำนวนทั้งสิ้น 888 คน แล้วจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) แล้วจึงนำตัวบ่งชี้ที่ได้จากข้างต้นมาสร้างเป็นแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้รู้ชัด ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ที่มีผลการเรียน 3.00 ขึ้นไป จำนวน 50 คน วิเคราะห์ข้อมูล และนำตัวบ่งชี้ที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากกว่า .80 และมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกมาหากลวิธีการพัฒนาตัวบ่งชี้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) ที่สร้างขึ้นมาทดลองใช้ (Try out) กับกลุ่มที่เหมือนกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลและเก็บข้อมูลจากผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความเกี่ยวข้องกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูแนะแนว ครูประจำชั้น และนักเรียน รวม 56 คน จากผลการวิจัยพบประเด็นสำคัญ 3 ประการ ดังนี้

1. องค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเขตภาคใต้ ได้แก่ 1) องค์ประกอบหลักด้านแบรนด์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย 31 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบย่อยที่ 1 ด้านอัตลักษณ์ มี 9 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบย่อยที่ 2 ด้านความเป็นนานาชาติ มี 9 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบย่อยที่ 3 ด้านองค์กรแห่งการเปลี่ยนแปลง มี 6 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบย่อยที่ 4 ด้านสัมพันธภาพ มี 5 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบหลักด้านการตลาดของสถาบัน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบย่อย 31 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบย่อยที่ 1 ด้านหลักสูตรที่นักศึกษาสนใจ มี 8 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบย่อยที่ 2 ด้านประชาสัมพันธ์มี 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบย่อยที่ 3 ด้านที่ตั้งสถานศึกษา มี 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบย่อยที่ 4 ด้านกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบย่อยที่ 5 ด้านค่าใช้จ่ายในการเรียนและทุนการศึกษา มี 5 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบย่อยที่ 6 ด้านบุคคล มี 2 ตัวบ่งชี้ 3) องค์ประกอบหลักด้านแรงจูงใจ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย 23 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบย่อยที่ 1 ด้านเจตคติ มี 9 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบย่อยที่ 2 ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มี 7 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบย่อยที่ 3 ด้านกลุ่มอ้างอิง มี 7 ตัวบ่งชี้ 4 องค์ประกอบหลักด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย 22 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบย่อยที่ 1 ด้านกายภาพ มี 8 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบย่อยที่ 2 ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 7 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบย่อยที่ 3 ด้านสื่อการเรียนการสอน มี 7 ตัวบ่งชี้

2. นำตัวบ่งชี้ที่ค้นพบไปทดสอบกับกลุ่มผู้รู้ชัด เห็นด้วยกับตัวบ่งชี้ 76 ตัว และไม่เห็นด้วยกับตัวบ่งชี้ 29 ตัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับไม่สูงกว่า .05

3. กลวิธีพัฒนาตัวบ่งชี้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เขตภาคใต้ จากตัวบ่งชี้มีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ตัวบ่งชี้จากสื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์ ตัวบ่งชี้มีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ/กรอ.) ตามนโยบายของรัฐบาล ตัวบ่งชี้ผู้เรียนมีสถานะกู้ยืมรายใหม่สามารถมากู้เงินเรียนต่อได้ ตัวบ่งชี้เพื่อนส่วนใหญ่เรียนมหาวิทยาลัยเอกชน และตัวบ่งชี้ผู้เรียนสถานะกู้ต่อเนื่องสามารถมากู้เงินเรียนต่อได้ พบว่า มีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ 1) แนวทางการพัฒนาด้านทุนการศึกษา ประกอบด้วย 4 กลวิธี คือ กลวิธีที่ 1 มหาวิทยาลัยควรมีทุนย่อยๆ ให้กับผู้เรียนหลายๆ ทุน กลวิธีที่ 2 มีทุนการศึกษาประเภทอื่นๆ รองรับนอกเหนือจาก กยศ. กลวิธีที่ 3 จัดหาแหล่งทุนการศึกษาจากหน่วยงานภายนอกให้กับผู้เรียน กลวิธีที่ 4 มีกองทุนเงินกู้ของมหาวิทยาลัยเอง 2) แนวทางการพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย 4 กลวิธี คือ กลวิธีที่ 1 เน้นใช้สื่อสังคมออนไลน์ กลวิธีที่ 2 ใช้รุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จเป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ กลวิธีที่ 3 จัดทำสื่อโฆษณาภาพยนตร์สั้น วิธีที่ 4 ความถี่และความหลากหลายของช่องทางประชาสัมพันธ์ 3) แนวทางการพัฒนาด้านกิจกรรม ประกอบด้วย 2 กลวิธีที่ 1 คือ กลวิธีเชิงรับ กลวิธีที่ 2 คือ กลวิธีเชิงรุก และ 4) แนวทางการพัฒนาด้านเครือข่ายศิษย์เก่า ประกอบด้วย 1 กลวิธี คือ กลวิธีการรับพวกพ้องที่จบจากสถาบันเดียวกันเข้าทำงานก่อนผู้ที่จบการศึกษาจากสถาบันอื่น

`

องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เขตภาคใต้Factors Affecting Decision Making of Students to Study in Private Universities in the South of Thailand is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.