โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีเตาชีวมวล เพื่อลดปัญหาการเกิดหมอกควันใน อ.อมก๋อย จ. เชียงใหม่
Biomass Stove Technology Transfer for smoke reduction Project in Omkoi District, Chiangmai Province

: ชื่อผู้วิจัย นายวรพจน์ โพธาเจริญ
: ตำแหน่ง -
: อื่นๆ
: ปี 2562
: 1054

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีเตาชีวมวล เพื่อลดปัญหาการเกิดหมอกควันในพื้นที่ อ.อมก๋อย จ. เชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ ถ่ายทอดและติดตั้งเทคโนโลยีเตาชีวมวลให้แก่ชุมชนในหมู่บ้านทุ่งจำเริง และหมู่บ้านยางแก้ว ต.อมก๋อย เพื่อให้ชุมชนมีแนวทางในการกำจัดขยะ ชีวมวลที่เหมาะสม ช่วยลดปัญหาการเผาในที่โล่งแจ้ง ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหามลพิษทางอากาศ และปัญหาหมอกควันของจังหวัดเชียงใหม่

จากการสำรวจเพื่อประเมินปริมาณขยะชีวมวลภายในหมู่บ้านทุ่งจำเริง และหมู่บ้านยางแก้ว พบว่า ทั้งสองหมู่บ้านมีปริมาณขยะชีวมวล ประมาณ 1,917 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งหากนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในผลิตเป็นพลังงานความร้อนได้เป็นปริมาณ 25,360 เมกกะจูลต่อวันหรือเทียบเท่าความร้อนที่ได้จากการใช้แก๊สหุงต้ม LPG (ขนาด 15 กิโลกรัม) จำนวน 35 ถัง

ทั้งนี้ ได้มีจัดอบรมเพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้เรื่องเทคโนโลยีเตาชีวมวล เมื่อวันที่ 11-12 กันยายน พ.ศ. 2562 ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุ่งจำเริง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโป่งดิน (ยางแก้ว) ตามลำดับ ผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วยตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลอมก๋อย คุณครูและผู้ปกครองจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้นำและตัวแทนชุมชน รวมทั้งสิ้น 55 คน ซึ่งผลจากการประเมินความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการอบรมฯ พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีเตาชีวมวลมากขึ้น จากผลคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมของผู้เข้าอบรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 และส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

ผลการประเมินการใช้งานและความพึงพอใจในการใช้งานของเตาผลิตน้ำร้อนด้วยเชื้อเพลิงชีวมวลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งสองศูนย์ และการทดลองใช้เตาชีวมวลระดับครัวเรือนในการประกอบอาหาร จากตัวแทน เป็นระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ พบว่า ทั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและตัวแทนชุมชนมีความพึงพอใจในการใช้งานเตาชีวมวล

`

โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีเตาชีวมวล เพื่อลดปัญหาการเกิดหมอกควันใน อ.อมก๋อย จ. เชียงใหม่Biomass Stove Technology Transfer for smoke reduction Project in Omkoi District, Chiangmai Province is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.