การพัฒนารูปแบบการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูบนพื้นที่สูงจังหวัดแม่ฮ่องสอน
The Development of Supervision Model of Teaching Profession in Highland Area, Maehongson Province

: ชื่อผู้วิจัย ปัทมา รัตนกมลวรรณ
: ตำแหน่ง -
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2563
: 1779

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูบนพื้นที่สูงจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อประเมินผลการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูบนพื้นที่สูงจังหวัดแม่ฮ่องสอนและเพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูบนพื้นที่สูงจังหวัดแม่ฮ่องสอน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1 จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 30 คน ครูนิเทศก์สาขาวิชาภาษาอังกฤษสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1 จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 31 คน อาจารย์นิเทศก์สาขาวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน จำนวน 6 คน และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 31 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตัวเอง

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยด้านการวางแผนการนิเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.64, S.D. = 0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ คือ การติดต่อประสานงานหรือประชุมชี้แจงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (x ̅= 4.69, S.D. = 0.46) รองลงมา คือ การจัดทำแผนการนิเทศ (x ̅ = 4.68, S.D. = 0.47) และการกำหนดนโยบายในการนิเทศ เช่น จำนวนครั้งที่นิเทศ ฯลฯ (x ̅= 4.64, S.D. = 0.52) ตามลำดับ

2. ปัจจัยด้านการบริหารจัดการการนิเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ ̅ = 4.57, S.D. = 0.68) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ คือ ความยืดหยุ่น ความเหมาะสมและเนื้อหาการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (x ̅ = 4.70, S.D. = 0.46) รองลงมา คือ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นิเทศก์และผู้รับการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (x ̅ = 4.66, S.D. = 0.50) และการบริการและอำนวยความสะดวกสำหรับผู้นิเทศก์และผู้รับการนิเทศ (x ̅= 4.62, S.D. = 0.51) ตามลำดับ

3. ปัจจัยด้านการเตรียมการนิเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.58, S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ คือ การประสานงานระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการนิเทศ (x ̅= 4.64, S.D. = 0.50) รองลงมา คือ การจัดเตรียมเอกสาร หลักฐาน สื่อ เครื่องมือ อุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อใช้ในกระบวนการนิเทศ (x ̅= 4.61, S.D. = 0.53) และการประชุมชี้แจง สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครูนิเทศก์ อาจารย์นิเทศก์และนักศึกษาเพื่อทำความเข้าใจรายละเอียดการดำเนินการตามแผนงาน

(x ̅= 4.59, S.D. = 0.53) ตามลำดับ

4. ปัจจัยด้านการปฏิบัติการนิเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.55, S.D. = 0.58) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ คือ การดำเนินการนิเทศตามแผนที่กำหนดไว้ (x ̅= 4.61, S.D. = 0.53) และความเอาใจใส่ของผู้บริหารสถานศึกษา ครูนิเทศก์และอาจารย์นิเทศก์ (x ̅= 4.61, S.D. = 0.55) รองลงมา คือ การสาธิตวิธีการปฏิบัติเฉพาะเรื่องเฉพาะวิธีหรือการสอนโดยวิธีการใหม่ๆ (x ̅ = 4.58, S.D. = 0.54) และการให้คำปรึกษาแนะนำ (x ̅= 4.52, S.D. = 0.54) ตามลำดับ

5. ปัจจัยด้านการประเมินและปรับปรุงผลงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.53, S.D. = 0.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ คือ การประเมินผลสัมฤทธิ์ครอบคลุมทุกด้านตามคู่มือฯ (x ̅= 4.72, S.D. = 0.47) รองลงมา คือ การชี้แจงและแนะนำแนวปฏิบัติการประเมินและปรับปรุงผลงาน (x ̅ = 4.62, S.D. = 0.51) และความร่วมมือของผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูนิเทศก์ อาจารย์นิเทศก์ (x ̅ = 4.51, S.D. = 0.58) ตามลำดับ

`

การพัฒนารูปแบบการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูบนพื้นที่สูงจังหวัดแม่ฮ่องสอนThe Development of Supervision Model of Teaching Profession in Highland Area, Maehongson Province is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.