ความพึงพอใจของบัณฑิต และนักศึกษา ต่อหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Satisfaction of graduates and students of the Public Health, Faculty of Science and Technology, Chiang Mai Rajabhat University
: ชื่อผู้วิจัย นางสาวอัจฉรา คำฝั้น
: ตำแหน่ง -
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2562
: 913
บทคัดย่อ (Abstract)
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของบัณฑิตนักศึกษารวมถึงปัจจัยความสัมพันธ์และแนวทางการพัฒนาต่อหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตบนฐานการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างกลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มคือนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกชั้นปีสาขาสาธารณสุขชุมชน จำนวน 220 คนและบัณฑิตคนโดยการสุ่มแบบเจาะจงและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยวิเคราะห์ค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมถึงการวิเคราะห์ความแปรปรวนผลการศึกษาพบว่าในกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกชั้นปีโดยแยกเป็นปี 1 (60 คน) 60 คน) ปี 3 (55 คน) ปี 4 (45 คน) นักศึกษามีความคาดหวังในประเด็นการได้รับรู้และประสบการณ์การทำงานด้านสาธารณสุขในอนาคตและปัจจุบันในระดับความคาดหวังมากคิดเป็นร้อยละ 80.9 และคิดเป็นร้อยละ 46.8 ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชนด้านอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ปรึกษาค่าเฉลี่ยรวมราย 4.06+0.470 ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนค่าเฉลี่ยรวมรายด้าน 4.08+0.45 ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้และทักษะนอกชั้นเรียนค่าเฉลี่ยรวมรายด้าน 4.18 + 0.551 เนื้อหารายวิชาของหลักสูตรค่าเฉลี่ยรวมรายด้านเท่ากับ 4.09+0.47 นักศึกษาทุกชั้นปีมีพึงพอใจระดับมากการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชนชั้นปีแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 ในด้านกระบวนการเรียนการสอนและอาจารย์ที่ปรึกษาส่วนด้านการจัดการเรียนการสอนการจัดแผนการเรียนเสนอแนะของสาขาวิชาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้และทักษะนอกชั้นเรียนและความพึงพอใจต่อเนื้อรายวิชาในหลักสูตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05
ในกลุ่มของบัณฑิตพบว่าบัณฑิตส่วนใหญ่สังกัดหน่วยเอกชน/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 78.6 งานราชการจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 17.1 ส่วนค่าขาย/ธุรกิจส่วนตัวจำนวน 3 คนคิดเป็นร้อยละ 4.3 และมีภาวะการมีงานทำภายในระยะเวลา 1-2 ปี จำนวน 45 คนคิดเป็นร้อยละ 64.3 และในระยะ 6 เดือน 1 ปีจำนวน 17 คนคิดเป็นร้อยละ 24.3 รองลงมาและระยะต่ำกว่า 6 เดือน จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 11.4 ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ย 10,000-15,000 บาท และบัณฑิตมีความพึงพอใจของบัณฑิตต่อการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชนด้านอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ปรึกษาค่าเฉลี่ยรวมรายด้าน
4.05+0. ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนค่าเฉลี่ยรวมรายด้าน 3.85+0.41 ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้และทักษะนอกชั้นเรียนค่าเฉลี่ยรวมรายด้าน 4.32+0.20 ด้านเนื้อหารายวิชาของหลักสูตรเฉลี่ยรวมรายด้าน 4.21 + 0.33 พึงพอใจระดับมากการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของบัณฑิตมีงานทำในหน่วยงานแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชนพบว่าภาพรวมทุกด้านมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05
ส่วนแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตโดยการมีส่วนร่วมการระดมคิดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ได้ประเด็นที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรสาธารณศาสตรบัณฑิตมีประเด็นสำคัญควรให้มีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรล่วงหน้าและระยะยาว ความพร้อมทั้งบุคลากรสถานที่และนักศึกษาใหม่จัดการเรียนการสอนเสริมภาษาอังกฤษเพื่อเป็นการพัฒนาบัณฑิตและรองรับความเป็นอาเซียนอยากให้เน้นในประเด็นการฝึกบัณฑิตให้มีทักษะในการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุมีผลเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการทำงานในอนาคตอยากให้มีแหล่งงานรองรับอย่างเพียงพอหรือจัดหาตลาดแรงงานให้เป็นต้น
ความพึงพอใจของบัณฑิต และนักศึกษา ต่อหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่Satisfaction of graduates and students of the Public Health, Faculty of Science and Technology, Chiang Mai Rajabhat University is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.