การศึกษาวิเคราะห์คำซ้อนในค่าวซอเรื่องพระอภัยมณีและศรีสุวัณณ์
An Analysis of Synonymous compounds appeared in Khaosaw, Phra Aphaimani and Srisuwan
: ชื่อผู้วิจัย ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี
: ตำแหน่ง -
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2562
: 279
บทคัดย่อ (Abstract)
การศึกษาวิเคราะห์คำซ้อนในค่าวซอเรื่องพระอภัยมณีและศรีสุวัณณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำซ้อน 2 คำ คำซ้อน 3 คำ คำซ้อน 4 คำ ซ้อนมากกว่า 4 คำ และคำซ้อนแบบขยายคู่ ศึกษาการสร้างคาซ้ำอนจากภาษาไทยกลาง ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาบาลีสันสกฤต และศึกษาคำซ้อนที่มีความหมายเหมือนกันความหมายใกล้เคียงกัน และความหมายตรงข้ามกัน ที่ปรากฏในหนังสือค่าวซอเรื่องพระอภัยมณีและศรีสุวัณณ์ โดยศึกษาจากจากหนังสือค่าวซอเรื่องพระอภัยมณีและศรีสุวัณณ์ แต่งโดยพระญาพรหมโวหารพิมพ์ด้วยตัวอักษรล้านนา จำนวน 143 หน้า พิมพ์ที่โรงพิมพ์อเมริกัน พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2473
ผลการศึกษาพบว่าคำซ้อน 2 คำ มีจานวน 449 คำ คำซ้อน 3 คำ มีจำนวน 152 คำ คำซ้อน 4 คำ มีจำนวน 143 คำ คำซ้อนที่มากกว่า 4 คำ มีจำนวน 6 คำ ในส่วนของคำซ้อนที่สร้างขึ้นจากภาษาที่ต่างกันซึ่งประกอบไปด้วยภาษาไทยกลาง ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาบาลีสันสกฤต ปรากฏคำซ้อน 2 คำที่สร้างขึ้นจากภาษาที่ต่างกัน จำนวน 105 คำ คำซ้อน 3 คำที่สร้างขึ้นจากภาษาที่ต่างกัน จำนวน 35 คำ และคำซ้อน 4 คำที่สร้างขึ้นจากภาษาที่ต่างกัน จำนวน 6 คำ สำหรับคำซ้อนที่แบ่งตามลักษณะความหมาย ปรากฏคำซ้อนที่มีความหมายเหมือนกัน จำนวน 253 คำ คำซ้อนที่มีความหมายใกล้เคียงกัน จำนวน 343 คำ และคำซ้อนที่มีความหมายตรงข้ามกัน จำนวน 15 คำ
การศึกษาวิเคราะห์คำซ้อนในค่าวซอเรื่องพระอภัยมณีและศรีสุวัณณ์An Analysis of Synonymous compounds appeared in Khaosaw, Phra Aphaimani and Srisuwan is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.