ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการทำงานของบัณฑิตหลักสูตรภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Employers’ Satisfaction towards the Graduates of Thai Language Program, Education Faculty, Chiang Mai Rajabhat University.
: ชื่อผู้วิจัย จุมพิต ศรีวัฒนพงศ์
: ตำแหน่ง -
: วัดประเมินผลการศึกษา
: ปี 2562
: 859
บทคัดย่อ (Abstract)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการทำงานของบัณฑิตหลักสูตรภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้บัณฑิต/หัวหน้าหน่วยงานของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2558 และ 2559 จำนวนทั้งสิ้น 91 คน ซึ่งได้มาจากข้อมูลที่บัณฑิตให้ไว้ในแบบสอบถามสภาพการหางานทำของบัณฑิตเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อการทำงานของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2558 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.54 แต่น้อยกว่าบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2559 ที่มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.60 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านก็พบว่า ด้านที่มีผลการประเมินมากที่สุดของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2558 คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม รองลงมา คือ ด้านคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ ด้านคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะทางปัญญา และด้านความรู้ ตามลำดับ สำหรับด้านที่มีผลการประเมินมากที่สุดของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2559 คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม รองลงมา คือ ด้านคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต ด้านคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะทางปัญญา และด้านความรู้ตามลำดับ
ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการทำงานของบัณฑิตหลักสูตรภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่Employers’ Satisfaction towards the Graduates of Thai Language Program, Education Faculty, Chiang Mai Rajabhat University. is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.