การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ในโรงเรียนสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดเชียงใหม่
A study of Teaching and Learning Model by Moderate Class More Knowledge in the School under Basic Education of Chiangmai Province

: ชื่อผู้วิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ ชมภูคำ
: ตำแหน่ง -
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2561
: 970

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากระบวนการบริหารจัดการการใช้หลักสูตร วิเคราะห์ลักษณะและวิเคราะห์ผลตามตัวชี้วัดความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ จำนวน 65 โรงเรียน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าเฉลี่ย ได้แก่ Z-test, t-test, F test (F), Welch’s test (FW) และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยดังนี้

1) กระบวนการบริหารจัดการการใช้หลักสูตรหลายด้านอยู่ในระดับมาก ใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจของคณะครูในการรับนโยบายการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ

2) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีการบูรณาการ การสร้างกิจกรรมใหม่ การจัดกิจกรรมเป็นฐาน การเข้ากลุ่มแบบระดับชั้น ช่วงชั้นหรือคละชั้น ตามความเหมาะสมของบริบทของโรงเรียน

3) ความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอนหลายตัวชี้วัด อยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูผู้สอนและผู้บริหาร อย่างน้อย 1 กลุ่มที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

4) การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรการการวิจัยกับรายวิชา มีขั้นตอน (1) วิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา (2) รูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม (3) ปัญหาการวิจัย (4) ทบทวนวรรณกรรมการที่เกี่ยวข้อง (5) วิเคราะห์ตัวแปร กรอบแนวคิด (6) ออกแบบการวิจัย (7) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลและการตรวจสอบคุณภาพ (8) เก็บรวบรวมข้อมูล (9) การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (10) การเขียนรายงาน

`

การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ในโรงเรียนสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดเชียงใหม่A study of Teaching and Learning Model by Moderate Class More Knowledge in the School under Basic Education of Chiangmai Province is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.