การพัฒนาความสามารถการจัดการเรียนรู้ สาระวิชาสังคมศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเต็มรูป โดยกระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
Promoting Learning Management Capability in Social studies of Teaching Professional Externship Students using Peer Coaching Supervision
: ชื่อผู้วิจัย เสกสรร ท้าวทุมมา
: ตำแหน่ง -
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2561
: 1142
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาความสามรถการจัดการเรียนรู้ สาระสังคมศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเต็มรูป โดยกระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสังคมศึกษา โดยอาศัยกระบวนการนิเทศติดตามแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพัฒนาการการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาสังคมศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ที่ผ่านกระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสังคมศึกษา ที่มีต่อการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 26 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบอาสาสมัคร (Volunteers Sampling) และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 26 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกการนิเทศนักศึกษา (สำหรับนักศึกษา)
2) แบบบันทึกการนิเทศนักศึกษา (สำหรับอาจารย์นิเทศ) 3) แบบบันทึกการนิเทศนักศึกษา (สำหรับคุณครูพี่เลี้ยง) และ 4) แบบทดสอบก่อน-หลังเข้ารับการอบรมการนิเทศการเรียนการสอน ผู้วิจัยจะวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที (t-test) แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แบบบรรยายจากการวิจัยเพื่อการพัฒนาความสามรถการจัดการเรียนรู้ สาระสังคมศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเต็มรูป โดยกระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. ความสามารถการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสังคมศึกษา โดยอาศัยกระบวนการนิเทศติดตามแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ประกอบด้วยแผนการนิเทศ 2 ระยะ ได้แก่ที่ ระยะที่ 1 คือ การวางแผนการนิเทศ และระยะที่ 2 คือ การดำเนินการนิเทศ ซึ่งผลการดำเนินการนิเทศตามกระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนตามแผนการนิเทศระยะ ที่ 1 และ 2 จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โดยผู้วิจัยมีการโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศ การสังเกตการสอน การทำวิจัยในชั้นเรียน รวมถึงการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แก่นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 26 คน เพื่อพัฒนาความสามารถการจัดการเรียนรู้ และเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านสังคมศึกษาให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ผลการให้ความรู้ก่อนร่วมโครงการ การนิเทศจะทำให้ครูมีความรู้ มีการจัดการเรียนรู้ ทักษะด้านเทคนิคการจัดการเรียนรู้ การใช้เครื่องมือ การสังเกตการสอน และการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และการวิจัยในชั้นเรียน
2. พัฒนาการการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาสังคมศึกษาของนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ผ่านกระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โดยใช้การเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อน-หลังเข้ารับการอบรมนิเทศการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน พบว่าพัฒนาการการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาสังคมศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรสังคมศึกษา ก่อนเข้ารับการอบรมและหลังเข้ารับการอบรมมีความแตกต่างกัน ซึ่งหลังเข้ารับการอบรมในระดับที่สูงกว่าก่อนเรียนมาก
3. ความพึงพอใจของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสังคมศึกษา ที่มีต่อการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน พบว่าจากแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้ให้อาจารย์นิเทศ ครูพี่เลี้ยง และนักศึกษา (เพื่อนครู) ประเมินผลการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ประเมินทุกคนอยู่ในระดับ มากที่สุด ในทุกด้าน
การพัฒนาความสามารถการจัดการเรียนรู้ สาระวิชาสังคมศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเต็มรูป โดยกระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนPromoting Learning Management Capability in Social studies of Teaching Professional Externship Students using Peer Coaching Supervision is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.