ผลการจัดกิจกรรมทางกายโดยใช้สื่อจากวัสดุเหลือใช้ที่มีต่อพัฒนาการ 4 ด้านของเด็กปฐมวัยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

: ชื่อผู้วิจัย ชนิตา อิศรเสนา
: ตำแหน่ง -
: ปฐมวัย
: ปี 2561
: 2880

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมทางกายโดยใช้สื่อจากวัสดุเหลือใช้

กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย อายุ 4-5 ปี ที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 35 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในช่วงกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) คู่มือการจัดกิจกรรมทางกายโดยใช้สื่อจากวัสดุเหลือใช้ มีความเที่ยงเท่ากับ 0.95 2) แบบประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย มีความเที่ยงเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t-test



ผลการวิจัยพบว่า 1) การเปลี่ยนแปลงของระดับพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ของเด็กปฐมวัยก่อนการจัดกิจกรรมทางกายโดยใช้สื่อจากวัสดุเหลือใช้ เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เท่ากับ 38.17 หลังการจัดกิจกรรมทางกายโดยใช้สื่อจากวัสดุเหลือใช้ เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา สูงขึ้นเท่ากับ 54.11 และ 2) หลังการทดลองเด็กปฐมวัยมีระดับพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

`

ผลการจัดกิจกรรมทางกายโดยใช้สื่อจากวัสดุเหลือใช้ที่มีต่อพัฒนาการ 4 ด้านของเด็กปฐมวัยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.