การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในรายวิชา การจัดการพฤติกรรม (SPE 3201) โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD
The Study of Academic Achievement of Undergraduate Students at Chiang Mai Rajabhat University in Behaviour Management for Children with Special needs course (SPE 3201) through Cooperative Learning by STAD (Student Team-Achievement Division)
: ชื่อผู้วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิพินต์ สุขบุญพันธ์
: ตำแหน่ง -
: อุดมศึกษา
: ปี 2556
: 482
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในรายวิชา การจัดการพฤติกรรม (SPE 3201) โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาสาขาการศึกษาพิเศษ ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2555 จำนวน 85 คน มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบบ STAD (Student Team Achievement Division) รายวิชา การจัดการพฤติกรรม (SPE 3201) และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 2 ฉบับ คือ แบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบปลายภาคเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1. นักศึกษาส่วนใหญ่มีผลการเรียนอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 37.65 รองลงมาคือระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 27.06, ระดับดี ร้อยละ 23.53, ระดับดีพอใช้ ร้อยละ 7.06, ระดับพอใช้ร้อยละ 3.53 และระดับอ่อนมาก ร้อยละ 1.17 ตามลำดับ 2. นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ย 81.27 คะแนนต่อคน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 7.13 แสดงว่า นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ในวิชา การจัดการพฤติกรรม (SPE 3201) โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD แตกต่างกันน้อย
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในรายวิชา การจัดการพฤติกรรม (SPE 3201) โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STADThe Study of Academic Achievement of Undergraduate Students at Chiang Mai Rajabhat University in Behaviour Management for Children with Special needs course (SPE 3201) through Cooperative Learning by STAD (Student Team-Achievement Division) is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.