ระดับความสุขในที่ทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Happy Workplace of Personal Rajabhat Chiangmai University
: ชื่อผู้วิจัย ฐิตินันท์ เขียวนิล
: ตำแหน่ง -
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2554
: 1010
บทคัดย่อ (Abstract)
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Descriptive cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความสุขและความพึงพอใจต่อองค์ประกอบของความสุขในที่ทำงาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสุขและความพึงพอใจต่อองค์ประกอบของความสุขในที่ทำงาน รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง เป็นพนักงานสายสนับสนุน 196 คน วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบ t – test chi – square test และ pearson correlation coefficient
ผลการวิจัย พบว่า พนักงานสายสนับสนุนส่วนใหญ่ มีระดับความสุขโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 3.62 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.77) ความพึงพอใจต่อองค์ประกอบของความสุขในที่ทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 3.12 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.85) เพศ ปัญหาสุขภาพและแนวโน้มการเปลี่ยนสถานที่ทำงานเป็นที่อื่นในอีก 5 ปี ข้างหน้า มีความสัมพันธ์กับระดับความสุขในที่ทำงานและความพึงพอใจต่อองค์ประกอบของความสุขในที่ทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.001) อายุและระยะเวลาการทำงานที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับความสุขในที่ทำงาน (r = - 0.38 และ - 0.26) ส่วนระยะเวลาการทำงานที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจต่อองค์ประกอบของความสุขในที่ทำงาน (r = 0.53)
ระดับความสุขในที่ทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่Happy Workplace of Personal Rajabhat Chiangmai University is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.