การใช้กระบวนการทางจิตตปัญญาศึกษาในการพัฒนาการรู้คิดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Using Jittapunyasuksa’s Process for Developing Meta Cognition of Undergraduate Student.
: ชื่อผู้วิจัย นางบุญวัฒนา บุญธรรม
: ตำแหน่ง -
: อุดมศึกษา
: ปี 2553
: 283
บทคัดย่อ (Abstract)
จิตตปัญญาศึกษาเป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นในทางสำรวจและพัฒนาภายในตนเองโดยการเรียนรู้อย่างใคร่ครวญผ่านกิจกรรมและประสบการณ์ตรงมีเป้าหมายก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานอันจะมีผลนำไปสู่พฤติกรรมการเรียนรู้ในด้านวิชาการที่ดีและเกิดสำนึกใหม่ที่ดียิ่งขึ้นวัตถุประสงค์การวิจัยในครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรู้คิดของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ที่ใช้กระบวนการทางจิตตปัญญาเป็นกิจกรรมสอดแทรกในการเรียนการสอนปกติและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการทำกิจกรรมตามกระบวนการทางจิตตปัญญาศึกษา กลุ่มประชากร คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 จำนวน 21 คน ระยะเวลาการทำกิจกรรมทางจิตตปัญญาศึกษาแทรกอยู่ในการเรียนการสอนตามปกติในวิชาวิธีสอนชีววิทยา 1 และวิชาทดลองสอน 1 ติดต่อกัน 7 สัปดาห์ ผลการศึกษาสรุปว่า เมื่อนักศึกษาได้ทำกิจกรรมในสัปดาห์แรกแล้วนักศึกษาส่วนใหญ่เกิดความรู้คิดเพียงแค่ประเด็นแรกคือ การตระหนักรู้ สามารถรายงานความรู้สึกของตนเองขณะทำกิจกรรม และควบคุมตนเองได้ นักศึกษาเพียงส่วนน้อยมีความสามารถเรียนรู้จากกิจกรรมและ/หรือ วิเคราะห์ผลของกิจกรรมสรุปมาเป็นแก่นความรู้ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องใช้ความสามารถในการรู้คิดมากกว่าประเด็นแรก ในสัปดาห์ต่อมานักศึกษามีการพัฒนาความรู้คิดมากขึ้นทีละน้อยตามลำดับ จนถึงสัปดาห์ที่ 5 นักศึกษาจำนวนมากขึ้นที่เริ่มแสดงความรู้คิดเด่นชัดขึ้น ในสัปดาห์ที่ 6 และ 7 นักศึกษาประมาณครึ่งหนึ่งแสดงความรู้คิดที่จะนำวิธีทำกิจกรรม ผลของกิจกรรมและ/หรือแก่นความรู้ไปประยุกต์ใช้เด่นชัด ส่วนการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของตนเองเริ่มมีประปรายในสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 5 เป็นต้นไปมีความเด่นชัดขึ้นเป็นลำดับ จนถึงสัปดาห์ที่ 7 นักศึกษาเกือบทั้งหมดแสดงความสามารถในการรู้คิดทุกประเด็นส่วนในด้านความพึงพอใจของนักศึกษาในการทำกิจกรรมสอดแทรกในการเรียนการสอนปกตินักศึกษาเกือบทั้งหมดระบุว่าชอบกิจกรรมที่ได้ทำ จึงเป็นการบรรลุวัตถุประสงค์การวิจัยทั้ง 2 ข้อ
การใช้กระบวนการทางจิตตปัญญาศึกษาในการพัฒนาการรู้คิดของนักศึกษาระดับปริญญาตรีUsing Jittapunyasuksa’s Process for Developing Meta Cognition of Undergraduate Student. is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.