ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Factors Affected to Decission. Making Study in Bachelor Degree of Student in Chiang Mai Rajabhat University
: ชื่อผู้วิจัย เอนก ณะชัยวงค์
: ตำแหน่ง -
: อุดมศึกษา
: ปี 2553
: 614
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เพื่อศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะ สำหรับปรับปรุงระบบการรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี ภาคปกติที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 5,105 คน และมีการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ภาคปกติ เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2552 ภาคปกติ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 1,011 คน มาศึกษาจำนวนร้อยละ 20 ของประชากร โดยได้จำแนกตามปริญญาที่ได้รับ โดยทำการรวบรวมจากแบบสอบถามจะใช้สอบถามความคิดเห็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี ภาคปกติที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ซึ่งข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติใช้สถิติเชิงพรรณนาวิธีการทางสถิติเป็นค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ระหว่าง 18-20 ปี ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี 4 ปี ส่วนใหญ่สังกัดคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาที่สังกัดส่วนใหญ่ คือ สิ่งแวดล้อม เรียนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มีวุฒิการศึกษาสูงสุดก่อนเข้าศึกษา คือ มัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเข้าศึกษาสูงสุดคือ 2.51-2.99 มีการเข้าศึกษาโดยการสอบคัดเลือกทั่วไป ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาในอำเภอเมืองเชียงใหม่และอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล ผู้ปกครองประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท และทราบข่าวการรับสมัครจากการแนะแนวจากโรงเรียนปัจจัยในด้านส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อ ผู้ตอบแบบสอบถามให้เป็นอันดับแรกคือ การตัดสินใจศึกษาต่อด้วยตนเอง ซึ่งมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.15) รองลงมาการตัดสินใจศึกษาต่อโดยบิดามารดาแนะนำ (ค่าเฉลี่ย 3.93) ปัจจัยภายในมหาวิทยาลัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อผู้ตอบแบบสอบถามให้เป็นอันดับแรก คือ เปิดหลักสูตรการสอนระดับปริญญาตรีหลากหลายสาขาวิชาให้เลือก ซึ่งมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.85) รองลงมาอาจารย์ที่สอนมีความรู้ความสามารถในถ่ายถอดความรู้ (ค่าเฉลี่ย 3.73) ปัจจัยด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการแข่งขันที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คือ มีหลักสูตรที่เป็นวิชาชีพ ซึ่งถ้าเรียนจบสามารถรับราชการได้ เช่น หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต ซึ่งมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.86) รองลงมาเนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐจึงมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่ามหาวิทยาลัยอื่นๆ
สำหรับปัญหา ประกอบด้วย ปัญหาส่วนบุคคลากรไม่ได้ศึกษาข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกสถานที่เรียนสาขาปัญหาในเรื่องของความกังวลในเรื่องการเรียน ค่าใช้จ่ายในการศึกษา การมีงานทำในอนาคต ปัญหาภายในมหาวิทยาลัย ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับในด้านการเรียนการสอนบางสาขาวิชา ไม่ใช่ทั้งหมด การประชาสัมพันธ์และการแนะแนวกลุ่มเป้าหมายให้ทั่วถึง ปัญหาด้านสังคม เศรษฐกิจการเมืองและการแข่งขัน เรื่องของเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้รายได้ของประชาชนลดลง ส่งผลกระทบ ทำให้ผู้ที่จะเข้าศึกษาต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่าย รวมถึงสามารถกู้ยืมเงินในการศึกษาได้ ซึ่งปัญหานี้มาจากแนวนโยบายของรัฐบาล เช่น นโยบายเรียนฟรี ถึงระดับอุดมศึกษา นโยบายเรื่องของเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญและส่งผลกระทบโดยตรงต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ เพราะถ้ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งจะมีผลกระทบต่อนโยบายต่างๆ และกระทบถึงผู้เรียนโดยตรง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่Factors Affected to Decission. Making Study in Bachelor Degree of Student in Chiang Mai Rajabhat University is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.