การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานใต้ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
The teacher development of cultural tourism knowledge management program on local wisdom of lower Esan
: ชื่อผู้วิจัย ดร.พีระพรรณ ทองศูนย์
: ตำแหน่ง -
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2556
: 606
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมครูเรื่องการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานใต้ ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยใช้การวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 12 คน จาก 79 โรงเรียนในอีสานใต้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หลักสูตรฝึกอบรมครู แบบประเมินตนเองก่อน/หลังฝึกอบรม แบบทดสอบความรู้
แบบประเมินหลักสูตร แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินตนเองของผู้นิเทศ แบบประเมินตนเองของผู้รับการนิเทศ แบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูล
ใช้ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้
การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น จากการสัมภาษณ์บุคคลและการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครู พบว่า หลักสูตรประกอบด้วย วิสัยทัศน์ หลักการ จุดมุ่งหมาย สมรรถนะ
ผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ โครงสร้างเวลาเรียน การวัดและการประเมินผล คำอธิบายรายวิชา เพื่อให้ครูนำไปออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้
หลักสูตรฝึกอบรมมีจำนวน 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้รับการออกแบบและพัฒนา โดยใช้แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรได้ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร PSAMN MODEL ซึ่งประกอบด้วยหน่วยการฝึกอบรมที่ 1 เรื่องการวางแผนการพัฒนาหลักสูตรการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานใต้ด้านการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรม (Planning: P) หน่วยการฝึกอบรมที่ 2 การเชื่อมโยงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรอิงมาตรฐานกับหลักสูตรสถานศึกษา (Standard based Curriculum: S) หน่วยการฝึกอบรมที่ 3 นำแนวคิดการจัดการความรู้ (CSKTL) มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ หน่วยการฝึกอบรมที่ 4 การบริหารจัดการหลักสูตรการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานใต้ด้านการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรม (Management System: M) หน่วยการฝึกอบรมที่ 5 การสร้างเครือข่ายหลักสูตรการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานใต้ด้านการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรม (Networking: N)
การทดลองใช้หลักสูตรพบว่า ครูมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานใต้ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ก่อนและหลังการฝึกอบรมแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญที่ .05
การประเมินหลักสูตรและการวิพากษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า หลักสูตรประกอบด้วย วิสัยทัศน์ หลักการ จุดมุ่งหมาย สมรรถนะผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ โครงสร้างเวลาเรียน การวัดและการประเมินผล คำอธิบายรายวิชาเพื่อให้ครูนำไปออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสม
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานใต้ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมThe teacher development of cultural tourism knowledge management program on local wisdom of lower Esan is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.