การพัฒนาหลักสูตรนาฏศิลป์สร้างสรรค์ตามแนวทางการจัดการศึกษาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
The development of creative dramatic arts curriculum according to creative education for primary school students

: ชื่อผู้วิจัย ดร.ฉวีวรรณ ตาลสุก
: ตำแหน่ง -
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2556
: 822

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ตามแนวทางการจัดการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ตามแนวทางการจัดการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา (2.1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์วิชานาฏศิลป์ (2.2) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถในการปฏิบัติท่ารำ (2.3) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถในการสร้างสรรค์งานด้านนาฏศิลป์ (2.4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรนาฏศิลป์สร้างสรรค์ตามแนวทางการจัดการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทาราม จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หลักสูตรนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ตามแนวทางการจัดการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชานาฏศิลป์

แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติท่ารำ แบบประเมินความสามารถในการสร้างสรรค์งานด้านนาฏศิลป์ แบบบันทึกของนักเรียนที่มีต่อการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน

เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. หลักสูตรนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ตามแนวทางการจัดการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ที่พัฒนาขึ้นมี 4 องค์ประกอบชื่อว่า “OCLE” ประกอบด้วย (1) วัตถุประสงค์ (2) เนื้อหาสาระ (3) กระบวนการเรียนการสอนและ (4) การประเมินผล

2. ประสิทธิผลของหลักสูตรนาฏศิลป์สร้างสรรค์ตามแนวทางการจัดการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา พบว่า

2.1. ผลสัมฤทธิ์วิชานาฏศิลป์ของนักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานต่างกันโดยรวมอยู่ในระดับดี

2.2. พัฒนาการความสามารถในการปฏิบัติท่ารำของนักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานต่างกัน พบว่าความถูกต้องของท่ารำ ความต่อเนื่องของท่ารำ ความสวยงามของท่ารำ โดยภาพรวมมีพัฒนาการสูงขึ้น

2.3. พัฒนาการความสามารถในการสร้างสรรค์งานด้านนาฏศิลป์ของนักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานต่างกันพบว่า ความถูกต้องตามแนวคิด เทคนิคการนำเสนอ ความสวยงามของการแสดง โดยภาพรวม

มีพัฒนาการสูงขึ้น

2.4. นักเรียนพึงพอใจต่อหลักสูตรนาฏศิลป์สร้างสรรค์ตามแนวทางการจัดการศึกษาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติ การคิดสร้างสรรค์ ประโยชน์ของการเรียนรู้

`

การพัฒนาหลักสูตรนาฏศิลป์สร้างสรรค์ตามแนวทางการจัดการศึกษาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาThe development of creative dramatic arts curriculum according to creative education for primary school students is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.