การพัฒนาแบบจำลองการดูแลให้คำปรึกษาผสมผสานเทคโนโลยีสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นครูสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
The Development of a Mentoring Social Media Technology Blended Model for Pre-Service Teachers Professional Experience Practices

: ชื่อผู้วิจัย ดร.วทัญญู ขลิบเงิน
: ตำแหน่ง -
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2556
: 687

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบจำลองการดูแลให้คำปรึกษาผสมผสานเทคโนโลยีสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นครู สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของแบบจำลองการดูแลให้คำปรึกษาผสมผสานเทคโนโลยีสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นครู ดำเนินการวิจัยด้วยการวิจัยและพัฒนาและประยุกต์ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ดำเนินการโดยใช้แบบแผนเชิงผสมผสานแบบรองรับภายใน โดยประยุกต์การวิจัยแบบดุลยภาพด้านเวลาและกลุ่มตัวอย่างของการทดลองต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแบบแผนการวิจัยที่มีเฉพาะกลุ่มทดลอง ได้รับการทดลองสลับกับการเว้นระยะในการได้รับการทดลองในครั้งต่อไปและวัดผลตามระยะเวลา ซึ่งผู้วิจัยประยุกต์เพิ่มให้มีการประเมินตนเองหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์นิเทศ จำนวน 10 คน ครูพี่เลี้ยงจำนวน 48 คน และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินตนเองด้านความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการดูแลให้คำปรึกษา แบบประเมินคุณลักษณะความเป็น ครูของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อแบบจำลอง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. แบบจำลองการดูแลให้คำปรึกษาผสมผสานเทคโนโลยีสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นครู สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีชื่อว่า แบบจำลองการดูแลให้คำปรึกษาผสมผสานเทคโนโลยีสื่อสังคม (Wathanyu MTB Model) ประกอบด้วย องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการและระบบสนับสนุน แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมความพร้อม (Preparing: P) 2) การวางแผนการดูแลให้คำปรึกษา (Planning: P)

3) การดำเนินการดูแลให้คำปรึกษาผสมผสานเทคโนโลยีสื่อสังคม (Implement Mentoring Social Media Technology Blended: IMTB: I) และ 4) การประเมินผล (Assessing: A)

2. คุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) การวางแผนและการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน 2) การจัดการชั้นเรียน 3) ความรับผิดชอบในหน้าที่ครู และ 4) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

3. ผลการศึกษาประสิทธิผลของแบบจำลอง พบว่า อาจารย์นิเทศ ครูพี่เลี้ยง มีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการดูแลให้คำปรึกษาในระดับมาก นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีคุณลักษณะความเป็นครูในระดับที่สูงขึ้น อาจารย์นิเทศ ครูพี่เลี้ยงและนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีความพึงพอใจต่อแบบจำลองในระดับมาก

`

การพัฒนาแบบจำลองการดูแลให้คำปรึกษาผสมผสานเทคโนโลยีสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นครูสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูThe Development of a Mentoring Social Media Technology Blended Model for Pre-Service Teachers Professional Experience Practices is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.