การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
The Development of Experiential Learning Model for Health Promotion of Rajabhat University Students

: ชื่อผู้วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติคม คาวีรัตน์
: ตำแหน่ง -
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2553
: 203

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ด้วยการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) มี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 คือการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ และระยะที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีการทดสอบก่อนและหลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มทดลอง จำนวน 114 คน ซึ่งได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสังเกตและสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มืออาจารย์ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินความรับผิดชอบ แบบประเมินทักษะกระบวนการ แบบประเมินทักษะมนุษยสัมพันธ์ แบบสอบถามเจตคติ แบบสอบถามพฤติกรรมและแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษา

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการพัฒนาได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ (KAECPAR Model) ประกอบด้วย หลักการคือการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงเป็นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ วัตถุประสงค์คือเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกันทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ขั้นตอนของรูปแบบ 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การให้ความรู้และการสร้างความตระหนัก (Knowledge and Awareness: KA) ขั้นที่ 2 การสร้างเสริมความรู้ (Enhancement: E) ขั้นที่ 3 การสร้างผลงาน (Construction: C) ขั้นที่ 4 การนำเสนอผลงาน (Presentation: P) และขั้นที่ 5 การประเมินผลการเรียนรู้และการสะท้อนกลับ (Assessment and Reflection: AR) ในทุกขั้นตอนมีการดำเนินการขั้นตอนย่อย คือ ขั้นเตรียมการ (Preparing: P) ขั้นปฏิบัติ (Doing: D) ขั้นสรุป (Summarizing: S) โดยมีเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ประกอบด้วย หลักการตอบสนอง ระบบสังคมและระบบสนับสนุน

2. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ พบว่า

2.1 ความรู้การสร้างเสริมสุขภาวะหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ

2.2 พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ

2.3 การใช้ทักษะกระบวนการหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ

2.4 การใช้ทักษะมนุษยสัมพันธ์หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ

2.5 เจตคติการสร้างเสริมสุขภาวะหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ

2.6 ความรับผิดชอบของนักศึกษาหลังการใช้รูปแบบนักศึกษามีความรับผิดชอบอยู่ในระดับดีมาก

2.7 ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของอาจารย์อยู่ในระดับมากที่สุด

`

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏThe Development of Experiential Learning Model for Health Promotion of Rajabhat University Students is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.