การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ของอาจารย์ในศูนย์เรียนรู้ โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต
The Development of Learning Process Management Model for the Instructors in Learning Center of Life University Project
: ชื่อผู้วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน
: ตำแหน่ง -
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2553
: 109
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ของอาจารย์ในศูนย์เรียนรู้ โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต โดยใช้การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ประกอบด้วยการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาความต้องการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ของอาจารย์ ขั้นที่ 2 สร้างรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ของอาจารย์ ขั้นที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ของอาจารย์และขั้นที่ 4 ประเมินรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ของอาจารย์ กลุ่มตัวอย่างคืออาจารย์ในศูนย์เรียนรู้โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ 3) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้ 4) แบบประเมินทักษะการเขียนแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5) แบบประเมินตนเองของอาจารย์ 6) แบบประเมินการจัดกระบวนการเรียนรู้ 7) แบบประเมินความพึงพอใจ 8) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและความต้องการจัดกระบวนการเรียนรู้ของอาจารย์ในศูนย์เรียนรู้ โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต ที่ควรได้รับการพัฒนามี 4 ด้าน คือ 1) ด้านเทคนิคและวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ 2) ด้านการใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 3) ด้านการวัดและประเมินผล
4) ด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ผู้ใหญ่และการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง
2. ผลการพัฒนาได้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ของอาจารย์ในศูนย์เรียนรู้ โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต ได้ AKLIE Model ประกอบด้วย หลักการคือการจัดกระบวนการเรียนรู้ในโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต ที่เอาชีวิตและชุมชนเป็นตัวตั้ง เน้นชุมชนท้องถิ่น
มีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนรู้ที่ยั่งยืน วัตถุประสงค์คือ เพื่อพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ของอาจารย์ในศูนย์เรียนรู้ โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต สาระความรู้ ประกอบด้วย การจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ ขั้นที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็น (Assessment of Need : A) ขั้นที่ 2 การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Acquisition : K) ขั้นที่ 3
การออกแบบแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ (Learning Plan : L) ขั้นที่ 4 การปฏิบัติการ (Implementation : I) และขั้นที่ 5
การประเมินผล (Evaluation : E)
3. ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ของอาจารย์ในศูนย์เรียนรู้ โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต พบว่า
3.1 หลังการใช้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ของอาจารย์ในศูนย์เรียนรู้ โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต พบว่า อาจารย์
มีความรู้ความเข้าใจสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 อาจารย์ในศูนย์เรียนรู้ โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต มีทักษะการเขียนแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้อยู่ในระดับดี
3.3 อาจารย์ในศูนย์เรียนรู้ โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต ประเมินตนเอง พบว่า มีความรู้และทักษะ อยู่ในระดับมาก และมีเจตคติต่อรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก
4. ผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ของอาจารย์อยู่ในระดับดี
5. นักศึกษาพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ ในระดับมาก
6. กรรมการบริหารโครงการ ผู้อำนวยการศูนย์ อาจารย์และนักศึกษามีความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้
ของอาจารย์ในศูนย์เรียนรู้ โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต อยู่ในระดับมาก
การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ของอาจารย์ในศูนย์เรียนรู้ โครงการมหาวิทยาลัยชีวิตThe Development of Learning Process Management Model for the Instructors in Learning Center of Life University Project is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.