การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนตามแนวคิดของกลิ๊กแมนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านของครูภาษาไทย
The Development of An Instructional Supervision Model Based on GLICKMAN’s Sprinciples to Improve Reading Instructional Competency of Thai Language Teachers

: ชื่อผู้วิจัย ดร.สามารถ ทิมนาค
: ตำแหน่ง -
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2553
: 478

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนตามแนวคิดของกลิ๊กแมน เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านของครูภาษาไทย และเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการนิเทศการสอนตามแนวคิดกลิ๊กแมน เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านของครูภาษาไทย ด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ร่วมกับแนวคิดการออกแบบการสอนเชิงระบบ (Instructional System Design) ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) ออกแบบพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน 3) นำรูปแบบการนิเทศการสอนไปใช้ และ 4) ประเมินผลรูปแบบการนิเทศการสอน กลุ่มตัวอย่างคือครูภาษาไทย จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 166 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เนื้อหา แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสังเกต แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบบันทึก การจัดการเรียนรู้แบบพรรณนาความ (Journal Writing) แบบประเมิน และประเด็นการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าเฉลี่ยร้อยละ (x̅%) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนิเทศการสอนตามแนวคิดของกลิ๊กแมน เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านของครูภาษาไทย เรียกว่า “AIPDE Model” ประกอบด้วยกระบวนการดำเนินงาน 5 ขั้น ขั้นที่ 1 การประเมินสภาพและสมรรถนะในการทำงาน (Assessing : A) ขั้นที่ 2 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Information : I) ขั้นที่ 3 วางแผนการนิเทศ (Planning : P) ขั้นที่ 4 ปฏิบัติการนิเทศ (Doing : D) ประกอบด้วยกระบวนการนิเทศการสอน 3 ขั้น คือ 1) การประชุมก่อนการสังเกตการสอน 2) การสังเกตการสอน 3) ประชุมให้ข้อมูลย้อนกลับหลังการสังเกตการสอน และขั้นที่ 5 ประเมินผลการนิเทศ (Evaluating : E) ผลจากการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ 6 คน พบว่า รูปแบบการนิเทศการสอนมีประสิทธิภาพ และผลจากการตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการนิเทศการสอนโดยการนำไปใช้ในโรงเรียน พบว่าครูผู้นำทำหน้าที่นิเทศมีสมรรถภาพการนิเทศการสอนหลังการใช้รูปแบบการนิเทศการสอนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศการสอน ครูผู้รับการนิเทศ

มีสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่าน หลังการใช้รูปแบบการนิเทศการสอนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศการสอน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนมีพัฒนาการด้านพฤติกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือกันสูงขึ้น ครูผู้ทำหน้าที่นิเทศและครูผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการสอนของครูภาษาไทยอยู่ในระดับมากที่สุด

`

การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนตามแนวคิดของกลิ๊กแมนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านของครูภาษาไทยThe Development of An Instructional Supervision Model Based on GLICKMAN’s Sprinciples to Improve Reading Instructional Competency of Thai Language Teachers is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.