การพัฒนารูปแบบการติดตามช่วยเหลือสำหรับครูพี่เลี้ยงเพื่อการนำกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น สู่การจัดการเรียนรู้ ในชั้นเรียนของนักศึกษาครู
The Development of Mentoring Model for Cooperative Teachers to Implement The Local Curriculum Frame Toward Classroom Instruction of Students Teacher.
: ชื่อผู้วิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.กรัณย์พล วิวรรธมงคล
: ตำแหน่ง -
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2553
: 343
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยกระบวนการวิจัยผสมผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์กระบวนทัศน์การนำกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของนักศึกษาครู 2) พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการติดตามช่วยเหลือสำหรับครูพี่เลี้ยงเพื่อการนำกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของนักศึกษาครู และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการติดตามช่วยเหลือสำหรับครูพี่เลี้ยงเพื่อการนำกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของนักศึกษาครู แบบแผนการวิจัย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองมีการทดสอบก่อนและหลังการใช้รูปแบบการติดตามช่วยเหลือ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูพี่เลี้ยง จำนวน 12 คน และนักศึกษาครูจำนวน 12 คน ที่กำลังฝึกประสบการณ์ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ที่ได้มาจากการอาสาสมัครและนักเรียนจำนวน 223 คนที่นักศึกษาฝึกประสบการณ์จัดการเรียนการสอนจากโรงเรียนวิสุทธรังสี โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์และโรงเรียนพนมทวนชนูปถัมภ์ จังหวัดกาญจนบุรี
ผลการวิจัย พบว่า
1. กระบวนทัศน์การนำกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของนักศึกษาครู เป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทของการจัดการเรียนรู้โดยมีครูพี่เลี้ยงเป็นผู้ให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่นักศึกษาครูในการจัดการเรียนรู้ ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงมีการช่วยเหลือแบ่งปัน เป็นแบบอย่างที่ดีและมีความเป็นผู้นำในการพัฒนา เรียนรู้ร่วมกัน เน้นกระบวนการมากกว่าผลผลิตที่เกิดขึ้น
2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า CPPME มีหลักการ คือ การติดตามช่วยเหลือจากครูพี่เลี้ยง นักศึกษาครูจะต้องได้รับคำแนะนำช่วยเหลือแบ่งปัน เป็นแบบอย่างที่ดี สนับสนุนให้นักศึกษาครูสามารถจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของรูปแบบเพื่อพัฒนาติดตามช่วยเหลือครูพี่เลี้ยงเพื่อการนำกรอบสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของนักศึกษาครู ขั้นตอนการติดตามช่วยเหลือสำหรับครูพี่เลี้ยง ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ศึกษาสังเกตบริบท (Contextual Study = C) ขั้นที่ 2 เตรียมความพร้อม (Preparing = P) ขั้นที่ 3 ร่วมมือวางแผน (Planning = P) ขั้นที่ 4 ปฏิบัติการ (Mentoring = M) ขั้นที่ 5 ประเมินผล (Evaluating = E) และนำขั้นตอนที่ใช้ในการขับเคลื่อนในแต่ละขั้นตอนของรูปแบบโดยใช้ (PAR) ได้แก่ ขั้นเตรียม (Preparing = P) ขั้นติดตามช่วยเหลือ (Action = A) ขั้นสะท้อนข้อมูลกลับ (Refection = R) โดยที่ครูพี่เลี้ยงกับนักศึกษาครูร่วมพัฒนาตามขั้นตอนในการติดตามช่วยเหลือ เงื่อนไขการใช้รูปแบบครูพี่เลี้ยงควรได้รับการฝึกอบรม และสร้างความตระหนักในการติดตามช่วยเหลือ
3. ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า 1) หลังการใช้รูปแบบการติดตามช่วยเหลือครูพี่เลี้ยงสามารถติดตามช่วยเหลือนักศึกษาครูสูงขึ้นในระดับมาก 2) หลังการใช้รูปแบบการติดตามช่วยเหลือครูพี่เลี้ยงและนักศึกษาครูมีความรู้ความเข้าใจการนำกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) หลังการใช้รูปแบบการติดตามช่วยเหลือครูพี่เลี้ยงและนักศึกษาครูสามารถวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) หลังการใช้รูปแบบการติดตามช่วยเหลือครูพี่เลี้ยงและนักศึกษาครูสามารถเขียนหน่วยการเรียนรู้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) หลังการใช้รูปแบบการติดตามช่วยเหลือครูพี่เลี้ยงและนักศึกษาครูสามารถเขียนแผนการเรียนรู้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6) หลังการใช้รูปแบบการติดตามช่วยเหลือครูพี่เลี้ยงและนักศึกษาครูมีความสามารถจัดการเรียนรู้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 7) หลังการใช้รูปแบบฯ ครูพี่เลี้ยงและนักศึกษาครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการติดตามช่วยเหลือสำหรับครูพี่เลี้ยงเพื่อการนำกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก ส่วนนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการสอนเรื่องราวในท้องถิ่นของนักศึกษาครูอยู่ในระดับมาก
การพัฒนารูปแบบการติดตามช่วยเหลือสำหรับครูพี่เลี้ยงเพื่อการนำกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น สู่การจัดการเรียนรู้ ในชั้นเรียนของนักศึกษาครูThe Development of Mentoring Model for Cooperative Teachers to Implement The Local Curriculum Frame Toward Classroom Instruction of Students Teacher. is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.