การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล
THE DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL BASED ON CONSTRUCTIVIST THEORY TO ENHANCE LEARNING ABILITIES OF NURSING STUDENTS

: ชื่อผู้วิจัย นางสาวจิราภรณ์ พิมใจใส
: ตำแหน่ง -
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2553
: 422

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้กับรูปแบบการเรียนการสอนปกติ และ 3) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล ในช่วงระหว่างการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เป็นแบบแผนแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental designs) โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกำหนดกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลังเรียนต่อเนื่องตามช่วงเวลาที่กำหนด (control-group interrupted time-series design) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 96 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 48 คน และกลุ่มควบคุม 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือผู้สอน คู่มือผู้เรียน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติทีแบบไม่อิสระและแบบอิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลที่พัฒนาขึ้นผ่านการตรวจสอบประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ มีชื่อว่า “รูปแบบการเรียนการสอนพาร์เซ่ (PARCE Model)” ประกอบด้วยกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ (Preparation : P) ขั้นเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ (Action : A) ขั้นสะท้อนความคิด (Reflection : R) ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C) และขั้นประเมินผล (Evaluation : E) และรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล มีประสิทธิภาพเท่ากับร้อยละ 80. 88/82.75 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏวาสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ กับรูปแบบการเรียนการสอนปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนความสามารถในการเรียนรู้สูงกว่านักศึกษาพยาบาลที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนปกติ และ 3) พัฒนาการของความสามารถในการเรียนรู้ด้านการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินค่า และการแก้ปัญหาของนักศึกษาพยาบาล ในช่วงระหว่างการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

`

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลTHE DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL BASED ON CONSTRUCTIVIST THEORY TO ENHANCE LEARNING ABILITIES OF NURSING STUDENTS is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.