การพัฒนาชุดช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ (KR-20)
The Development of a Real-Time Data Analysis Kit for the Reliability of the Test (KR-20)
: ชื่อผู้วิจัย นาย บุญชัช เมฆแก้ว
: ตำแหน่ง อาจารย์
: เทคโนโลยีการศึกษา
: ปี 2562
: 465
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ(KR-20) 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ คุณภาพ และความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อชุดช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ(KR-20) 3) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของชุดวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ (KR-20)กับโปรแกรมสำเร็จรูป กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบบเจาะจง(Specific purpose sampling) จากอาจารย์ผู้สอนในวิทยาลัยชุมชนพังงา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. เครื่องมือสำหรับสร้างชุดช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ(KR-20) 2. เครื่องมือสำหรับประเมินประสิทธิภาพ คุณภาพและความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบKuder-Richardson(KR-20) ค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนก
ผลการวิจัยพบว่า มิติที่ 1 ผลการประเมินประสิทธิภาพชุดช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ(KR-20) โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.86, S.D. = 0.16) มิติที่ 2 ผลการประเมินคุณภาพชุดช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ(KR-20) ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.75, S.D. = 0.42) และผู้ใช้ระบบส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อชุดช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ(KR-20) ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.71, S.D. = 0.41) หากนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 80 หรือระดับคะแนนเท่ากับ 4.00 คิดเป็นร้อยละ 94.20 มิติที่ 3 ผลการประเมินประสิทธิภาพชุดช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ(KR-20) พบว่า ข้อสอบเกือบทุกข้อ มีดัชนีค่าความยากและอำนาจจำแนกอยู่ในช่วงที่เหมาะสม มีเพียงสองข้อที่ควรนำไปพัฒนาโจทย์ใหม่ และค่าความเชื่อมั่นที่ได้จากชุดช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ(KR-20) ที่สร้างขึ้น มีค่าเท่ากับ 0.85 และนำไปเปรียบเทียบกับการหาค่าความเชื่อมั่นตามวิธีของ ครอนบาค(Cronbach) ที่มีอยู่บนโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อความถูกต้องและมีประสิทธิภาพของชุดช่วยวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผลลัพธ์ที่ได้มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากัน
การพัฒนาชุดช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ (KR-20)The Development of a Real-Time Data Analysis Kit for the Reliability of the Test (KR-20) is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.