การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
DEVELOPMENT OF SCHOOL MANAGEMENT MODEL BY INTEGRATING PHILOSOPHY OF SUFFICIENCY ECONOMY IN PRIMARY SCHOOLS OF THE LOWER NORTHEASTERN REGION

: ชื่อผู้วิจัย ธนา โด่งพิมาย
: ตำแหน่ง -
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2561
: 2424

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้และมีประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง แบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่ 2 ร่างรูปแบบและประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้โดยการประชุมกลุ่มสนทนาจากผู้ทรงคุณวุฒิระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบความเป็นไปได้จากผู้บริหารสถานศึกษา ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 314 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยบูรณาการใน 2 องค์ประกอบคือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง ได้แก่ 1) ความพอประมาณ 2) มีเหตุผล 3) มีภูมิคุ้มกันและ 2 เงื่อนไข ได้แก่

1) คุณธรรม 2) ความรู้ และการบริหารสถานศึกษา 4 งานดังนี้ 1) งานวิชาการ 2) งานบุคคล 3) งานงบประมาณ 4) งานทั่วไป โดยมีความคิดเห็น ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ขององค์ประกอบโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้และมีประโยชน์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

`

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างDEVELOPMENT OF SCHOOL MANAGEMENT MODEL BY INTEGRATING PHILOSOPHY OF SUFFICIENCY ECONOMY IN PRIMARY SCHOOLS OF THE LOWER NORTHEASTERN REGION is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.