การพัฒนาตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Development of Quality Culture Indicators for School Administrators under the Office of Secondary Educational Service Area in the Northeast of Thailand.

: ชื่อผู้วิจัย ธนิต ปุ่นประโคน
: ตำแหน่ง -
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2562
: 1161

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย วัฒนธรรมคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง ตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 390 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง โดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมลิสเรล

ผลการวิจัยพบว่า

1. วัฒนธรรมคุณภาพ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย 13 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) องค์ประกอบหลัก ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) ด้านการวางแผน (2) ด้านการปฏิบัติตามแผน (3) ด้านการตรวจสอบ (4) ด้านการปรับปรุงแก้ไข 2) องค์ประกอบหลักด้านการมีส่วนร่วมมี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) ด้านการดำเนินงาน

(2) ด้านการตัดสินใจ (3) ด้านการประเมินผล 3) องค์ประกอบหลักด้านภาวะผู้นำมี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) ด้านการบริหารจัดการที่ดี (2) ด้านความรับผิดชอบ (3) ด้านความสามารถ (4) ด้านการสร้างเครือข่าย 4) องค์ประกอบหลักด้านการมุ่งเน้นนักเรียนมี 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) ด้านการรับฟังนักเรียน (2) ด้านความผูกพันของนักเรียนและตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สร้างและพัฒนาขึ้นมีจำนวน 70 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จำนวน 20 ตัวบ่งชี้ ด้านการมีส่วนร่วม จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ ด้านภาวะผู้นำ จำนวน 23 ตัวบ่งชี้ และด้านการมุ่งเน้นนักเรียน จำนวน 13 ตัวบ่งชี้

2. ผลการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้าง ตัวบ่งชี้การพัฒนา ตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้ค่าสถิติ ไค-สแควร์ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว ทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่าโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 64.49, df = 50, p = 0.082, RMSEA = 0.027, GFI = 0.98, AGFI= 0.95)

`

การพัฒนาตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือThe Development of Quality Culture Indicators for School Administrators under the Office of Secondary Educational Service Area in the Northeast of Thailand. is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.