แนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
Guidelines for Implementation of Child Development Centers in Local Administrative Organization in Nangrong District, Buriram Province

: ชื่อผู้วิจัย ประหยัด สวัสดิ์พูน
: ตำแหน่ง -
: ปฐมวัย
: ปี 2560
: 569

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 3) เพื่อประเมินแนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีขั้นตอนการวิจัย 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 25 แห่ง จากแหล่งข้อมูล 3 แหล่ง คือ 1) จากเอกสารงานวิจัย 2) จากพหุกรณี (Multi - case Study) จำนวน 9 คน จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น (Best - Practice) จำนวน 3 แห่ง 3) จากกลุ่มตัวอย่าง 118 คน โดยสุ่มจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ข้อมูลในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้แบบสอบถามประมาณค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ยกร่างแนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการนำข้อมูลจากระยะที่ 1 ที่มีผลการแสดงความคิดเห็นต่ำสุดมาเป็นกรอบแนวทางในการร่าง ระยะที่ 3 ตรวจสอบร่างแนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 13 คน ระยะที่ 4 ประเมินความเหมาะสมของแนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยกระบวนการอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) จำนวน 30 คน

ผลการวิจัย พบว่า

1. จากผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ด้วยวิธีวิจัยชิงปริมาณพบว่า ภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านบุคลากรมีภาพรวมการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นความคิดเห็นในการปฏิบัติต่ำสุดของทั้ง 6 ด้าน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ด้านบุคลากรภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 5) ด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 6) ด้านส่งเสริมครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก

2. ผลการสร้างและพัฒนาแนวทางการดำเนินการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ด้านบุคลากร สรุปผลได้ดังนี้ แนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผน ได้แก่ ศึกษาสภาพปัญหาสำรวจความต้องการสำรวจการ โอนย้าย 2) ด้านการสรรหา ได้แก่ ประชาสัมพันธ์แต่งตั้งคณะกรรมการเกณฑ์การสรรหา 3) การบรรจุแต่งตั้ง ได้แก่ ประกาศชื่อผู้ได้รับคัดเลือก ขึ้นบัญชีควบคุม กำกับเจ้าหน้าที่ กำหนดกรอบอัตรากำลังให้ชัดเจน 4) การประเมินและการพัฒนา ได้แก่ กำหนดเป้าหมายจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นต้น

3. ผลการประเมินความเหมาะสมของแนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการประเมินและพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด

`

แนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์Guidelines for Implementation of Child Development Centers in Local Administrative Organization in Nangrong District, Buriram Province is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.