การเสริมสร้างทักษะชีวิตนักเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
Enhancing Life Skills of Students at Basic Education Level Using Participatory Action Research

: ชื่อผู้วิจัย ปานทอง อังคณิตย์
: ตำแหน่ง -
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2558
: 688

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบมีส่วนร่วม และเพื่อศึกษาผลการเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยที่ระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้-เสีย ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านห้วยพลวง จังหวัดชัยภูมิ โดยใช้การวิจัยชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายได้จากการเลือกแบบเจาะจง 6 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และผู้นำชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสำรวจ 2) แบบบันทึกการประชุม 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 4) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และ 5) แบบการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนแบบมีส่วนร่วม ระยะเวลาในการศึกษา ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. มีกระบวนการดำเนินการ 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะก่อนดำเนินการ และระยะที่ 2 ระยะดำเนินการ มี 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1นำข้อมูลที่ได้จากระยะที่ 3 มาใช้ในการเสริมสร้างทักษะชีวิตนักเรียน ขั้นที่ 2 วางแผนเพื่อกำหนดกลวิธีสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตนักเรียน ขั้นที่ 3 การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตนักเรียน ขั้นที่ 4 การสังเกตความก้าวหน้าของการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตนักเรียน และขั้นที่ 5 สะท้อนผลการดำเนินงาน สรุปผล และรายงานผลการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตนักเรียน

2. ผลการใช้กิจกรรมนักเรียนในการเสริมสร้างทักษะชีวิตใน 6 ด้าน นักเรียนมีทักษะชีวิตเพิ่มสูงขึ้น ดังต่อไปนี้ 1) ระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านยุติข้อขัดแย้งในกลุ่มเพื่อนด้วยสันติวิธี และด้านมีความภาคภูมิใจในตนเองและผู้อื่น มีค่าเฉลี่ย 4.70 และ 4.60 2) ระดับมาก ได้แก่ ด้านค้นพบจุดเด่นจุดด้อยของตนเอง และด้านค้นพบความชอบความถนัดและความสามารถของตนเอง มีค่าเฉลี่ย 4.25 และ 4.15 และ 3) ระดับปานกลาง ได้แก่ รู้จักวิพากษ์วิจารณ์บนพื้นฐานของข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง และด้านให้ความร่วมมือและดำเนินงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ย 3.50 และ 3.25

`

การเสริมสร้างทักษะชีวิตนักเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมEnhancing Life Skills of Students at Basic Education Level Using Participatory Action Research is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.