การพัฒนาหลักสูตรการบริหารจัดการงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Curriculum Development of Child Development Centers' Academic Administration under Local Administrative Organizations in the Northeast of Thailand

: ชื่อผู้วิจัย ปิยนันท์ แซ่จิว
: ตำแหน่ง -
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2560
: 551

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาขอบข่ายการบริหารจัดการงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรการศึกอบรมการบริหารงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 4) ประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยได้ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นปัญหาและความต้องการในการพัฒนา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การศึกษาดูงานและการสัมภาษณ์หัวหน้าศูนย์ ครูผู้สอน คณะกรรมการบริหารศูนย์ และผู้ปกครอง จำนวน 8 คน จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเด็กต้นแบบ 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด และ 3) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหาความต้องการในการพัฒนา ระยะที่ 2 การสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างโครงร่างหลักสูตรการฝึกอบรม 2) การตรวจสอบโครงร่างหลักสูตรการฝึกอบรม โดยการประชุมกลุ่มย่อยผู้เชี่ยวชาญ และ 3) การปรับปรุงโครงร่างหลักสูตรการฝึกอบรม ระยะที่ 3 การนำหลักสูตรการฝึกอบรมไปทดลองใช้กับหัวหน้าศูนย์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 30 คน และ ระยะที่ 4 การประเมินหลักสูตรการฝึกอบรม

ผลจากการศึกษา สามารถสรุปได้ดังนี้

1. ขอบข่ายงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การวางแผนงานวิชาการ 3) การจัดระบบการเรียนการสอน 4) การประเมินผลการเรียนการสอน และ 5) การนิเทศการสอน ตามลำดับ

2. ลักษณะของหลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารจัดการงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบ 5 หน่วยการเรียน 20 หัวข้อวิชา จำนวน 23 ชั่วโมง ซึ่งหน่วยการเรียน 5 หน่วย ประกอบด้วย หน่วยที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วย 5 หัวข้อวิชา ได้แก่ 1) ความหมายการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) หลักการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 3) องค์ประกอบของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 4) การบริหารการจัดทำและการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และ 5) การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา หน่วยที่ 2 การวางแผนงานวิชาการ ประกอบด้วย 4 หัวข้อวิชา ได้แก่ 1) ความหมายของการวางแผนงานวิชาการ 2) องก์ประกอบของการวางแผน 3) การวางแผนวิชาการในสถานศึกษา และ 4) การนำเทคนิคสำคัญที่ใช้ในการวางแผนงานวิชาการ หน่วยที่ 3 การจัดระบบการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน ประกอบด้วย 4 หัวข้อวิชา ได้แก่ 1) ความหมายของการเรียน 2) ความหมายของการสอน 3) การนำแนวคิดเกี่ยวกับระบบไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และ 4) ระบบการเรียนการสอน หน่วยที่ 4 การประเมินผลการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน ประกอบด้วย 3 หัวข้อวิชา ได้แก่ 1) เหตุผลและความจำเป็นในการประเมินผลการเรียนการสอน 2) องค์ประกอบกระบวนการประเมินผลการเรียนการสอน และ 3) หลักการประเมินผลการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน และหน่วยที่ 5 การนิเทศการจัดประสบการณ์การสอน ประกอบด้วย 4 หัวข้อวิชา ได้แก่ 1) ความมุ่งหมายของการนิเทศการสอน 2) หลักการนิเทศการจัดประสบการณ์การสอน 3) กระบวนการนิเทศการจัดประสบการณ์การสอน และ 4) เทคนิคการนิเทศการสอน ตามลำดับ

3. ผลการนำหลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารจัดการงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปทดลองใช้ พบว่า

3.1 หลักสูตรการอบรมมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความถูกต้อง และมีการนำไปใช้ได้จริง ซึ่งตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

3.2 คะแนนการทดสอบของหัวหน้าศูนย์หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม โดยใช้หลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารจัดการงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีต่อหลักสูตรการฝึกอบรม การบริหารจัดการงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในระดับมากที่สุด

4. ผลการประเมินทลักสูตรการอบรมตามความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง การนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 17 คน โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด

`

การพัฒนาหลักสูตรการบริหารจัดการงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือCurriculum Development of Child Development Centers' Academic Administration under Local Administrative Organizations in the Northeast of Thailand is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.