รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา
A Development Model for Transformational Leadership of Charity School Administrators in Buddhist Temples.
: ชื่อผู้วิจัย พระเอกชัย พิเลิศรัมย์
: ตำแหน่ง -
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2562
: 1391
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้จำนวน 33 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 66 คน เป็นผู้บริหาร จำนวน 33 คน และตัวแทนครู จำนวน 33 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง จำนวน 17 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ยึดตามขนาดและบริบทของโรงเรียนโดยความสมัครใจของผู้บริหาร ระยะที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเพื่อการประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย ผู้บริหารที่สมัครใจเข้าอบรม จำนวน 17 คน และตัวแทนครูร่วมประเมิน จำนวน 17 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง จำนวน 80 ข้อ เป็นลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.98 คู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพโดยการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน และแบบประเมินภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมันทั้งฉบับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นรูปแบบเชิงระบบ ประกอบด้วย 1) บริบท ได้แก่ หลักการสำคัญ วัตถุประสงค์ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สภาพปัจจุบันที่พึงประสงค์และวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) ตัวป้อน ได้แก่ องค์ความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง 5 องค์ประกอบ 3) กระบวนการ ได้แก่ การประชุมปฏิบัติการแบบเข้ม ประกอบด้วย 4 โมเดล ได้แก่ (1) การให้องค์ความรู้ (2) การปฏิบัติการเขียนแผนพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (3) การปฏิบัติการตามแผนพัฒนาในสภาพจริง และ (4) การประเมินผลการพัฒนาในสภาพจริง 4) ผลผลิต ได้แก่ ผู้บริหารที่เข้ารับการพัฒนามีความรู้และมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ 5) ข้อมูลย้อนกลับ ได้แก่ ผู้บริหารที่เข้ารับการพัฒนามีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น อยู่ในระดับมาก ผู้บริหารที่เข้ารับการพัฒนาต้องทบทวนและพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
3) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 34 คน โดยผู้บริหารประเมินตนเอง และประเมินโดยครู พบว่า ผู้บริหารมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง หลังการประชุมปฏิบัติการแบบเข้ม โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ก่อนและหลังการประชุมปฏิบัติการแบบเข้มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาA Development Model for Transformational Leadership of Charity School Administrators in Buddhist Temples. is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.