การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมมวยไทยสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสุรินทร์
Development of the Administrative Model on Muaythai Activities for Basic Education Schools in Surin Province.
: ชื่อผู้วิจัย พินิจ นิ่มปรางค์
: ตำแหน่ง -
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2562
: 1005
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการจัดกิจกรรมมวยไทยสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมมวยไทยสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมมวยไทยสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสุรินทร์ ผู้ให้ข้อมูลมี 5 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 11 คน คือ อาจารย์สถาบันอุดมศึกษา 2 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน ครูสอนมวยไทยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 คน ในจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุรินทร์ และศึกษานิเทศก์ 2 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความรู้ด้านมวยไทยในจังหวัดสุรินทร์ 3 คน ศึกษานิเทศก์ 3 คน และครูสอนมวยไทยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ผู้บริหารสถานศึกษา 105 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1, 2, 3 และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ซึ่งได้มาโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน บุคลากร 90 คน คือ บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ และครูสอนมวยไทยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1, 2, 3 และสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยใช้วิธีการเลือกแบบจาะจง และผู้ทรงคุณวุฒิ 11 คน คือ อาจารย์สถาบันอุดมศึกษา 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน ครูสอนมวยไทย 5 คน และศึกษานิเทศก์ 2 คน ในจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุรินทร์ โดยวิธีการเลือกบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 98 แบบประเมินรูปแบบ และแบบประเมินยืนยันรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพการบริหารการจัดกิจกรรมมวยไทย สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า มี 6 ด้าน คือ (1) ด้านนโยบาย พบว่า มีความไม่ชัดเจนไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ (2) ด้านหลักสูตรมวยไทยสำหรับสถานศึกษาพบว่า เนื้อหารายวิชายังไม่ชัดเจนแต่ละช่วงชั้น (3) ด้านครู ผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา พบว่า ขาดความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการจัดกิจกรม (4) ด้านผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนขาดความสนใจที่จะเรียนมวยไทย เนื่องจากกลัวความรุนแรง กลัวต้องขึ้นชกบนเวที (5) ด้านงบประมาณ พบว่า ขาดงบประมาณการจัดเตรียมสถานที่ และอุปกรณ์ฝึกทักษะ และ (6) ด้านเหล่งเรียนรู้ พบว่า สถานศึกษาให้ความสำคัญน้อยมากในการศึกษาแหล่งเรียนรู้มวยไทยนอกสถานศึกษา
2. ผลการศึกษาการสร้างรูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมมวยไทย สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสุรินทร์ที่พัฒนาขึ้น พบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ด้าน คือ (1) ด้านการวางแผน (2) ด้านการปฏิบัติตามแผน (3) ด้านการตรวจสอบ (4) ด้านการพัฒนา และ (5) ด้านการสะท้อนผลและปรับปรุง
3. ผลการศึกษการประเมินรูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมมวยไทย สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสุรินทร์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่ามีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดและผลการศึกษาการประเมินยืนยันรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ 1) ด้านการวางแผน มีกิจกรรมสำคัญดังนี้ (1) จัดทำแผนปฏิบัติการ (2) จัดทำแผนพัฒนา และ (3) กำหนดวันนิเทศ กำกับ ติดตาม 2) ด้านการปฏิบัติตามแผน มีกิจกรรมสำคัญดังนี้ (1) กำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จ (2) การปรับปรุงระหว่างดำเนินการ และ (3) สรุปผลการดำเนินการ 3) ด้านการตรวจสอบมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้ (1) ติดตามตรวจสอบ และ (2) จัดทำรายงานเสนอต้นสังกัด 4) ด้านการพัฒนามีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้ (1) ส่งเสริมเพื่อการออกกำลังกาย (2) ส่งเสริมจัดทำหลักสูตรมวยไทย และ (3) สร้างเครือข่ายศูนย์มวยไทยระดับท้องถิ่น และ 5) ด้านการสะท้อนผลและปรับปรุง มีกิจกรรมสำคัญดังนี้ (1) การประเมินทักษะมวยไทยพื้นฐานเป็นระยะ และ (2) ตรวจสอบสะท้อนผลการจัดกิจกรรมทุกขั้นตอน ซึ่งสถานศึกษาสามารถนำไปใช้จริงได้
การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมมวยไทยสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสุรินทร์Development of the Administrative Model on Muaythai Activities for Basic Education Schools in Surin Province. is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.