รูปแบบการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A Model of Personnel Management for the Private Schools in the Northeast
: ชื่อผู้วิจัย พีระพงษ์ พันธุ์พินิจ
: ตำแหน่ง -
: อื่นๆ
: ปี 2559
: 555
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชน 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชน และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชน วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเเรียนจำนวน 267 โรงเรียน โดยทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอนให้กระจายไปตามจังหวัด อำเภอ แล้วทำการเลือกแบบเจาะจง โดยกำหนดให้เป็นผู้บริหาร จำนวน 267 คน และครู 267 คน รวมทั้งสิ้น 534 คน และสัมภาษณ์ผู้บริหาร และครูโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับรางวัลพระราชทาน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 6 โรงเเรียน จำนวน 12 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการยกร่างรูปแบบและผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมและความครอบคลุมของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน และ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 10 – 15 โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม กลุ่มตัวอย่าง 100 โรงเรียน แล้วทำการเลือกแบบเจาะจงโดยกำหนดให้เป็นผู้บริหาร ได้แก่ ผู้บริหาร (ผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ หรือรองผู้อำนวยการ) จำนวน 100 คน และครู (หัวหน้าฝ่ายงานบุคคล) โรงเรียนเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 100 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 200 คน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า
1.1 ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ระดับปานกลาง และความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพที่พึงประสงค์ การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ระดับมาก
1.2 ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ระดับปานกลาง และความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพที่พึงประสงค์ การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2.1 รูปแบบการบริหารงานบุคลากรของโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 หลักการของรูปแบบ ประกอบด้วย 10 หลักการ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ประกอบด้วย 5 ข้อ และส่วนที่ 3 องค์ประกอบของรูปแบบ ประกอบด้วย 6 ด้าน
2.2 การตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการตรวจสอบรูปแบบเชิงคุณลักษณะด้านการประเมินความเหมาะสมและความครอบคลุมจากผู้ทรงวุฒิ 10 คน พบว่า ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับความเหมาะสมของรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นเกี่ยวกับความครอบคลุมของรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความคิดเห็นของครูและผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ ของรูปแบบการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นเกี่ยวกับความมีประโยชน์ของรูปแบบการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด
รูปแบบการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือA Model of Personnel Management for the Private Schools in the Northeast is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.