รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์
AN ADMINISTRATION MODEL OF THE LOCAL HEALTH SECURITY FUND IN BURIRAM PROVINCE
: ชื่อผู้วิจัย ศรีอัมพร เมฆหมอก
: ตำแหน่ง -
: อื่นๆ
: ปี 2560
: 435
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันปัจจัยแห่งความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคของกองทุนหลักประสุขภาพในระดับท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ แบ่งการดำเนินการออกเป็น 4 ระยะ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธีการศึกษา ด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นจำนวน 24 แห่ง คณะกรรมการกองทุนผู้ให้ข้อมูล 365 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนของระดับศักยภาพกองทุนการศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสนทนากลุ่มและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นจำนวน 12 แห่ง มีคณะกรรมการกองทุนผู้ให้ข้อมูล 169 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่มสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาสร้างและพัฒนารูปแบบตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบโดยการอภิปรายกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 คน ประเมินรูปแบบโดยประเมินด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้โดยผู้ทรงคุณวุฒิในระดับพื้นที่จำนวน 30 คน
ผลการวิจัยพบว่าจากการศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณพบว่า คณะกรรมการกองทุนมีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นว่าภาพรวมของทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีการดำเนินงานน้อยกว่าด้านอื่น ได้แก่ ด้านการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน รองลงมา ได้แก่ ด้านการสร้างการรับรู้ความเข้าใจและสนใจของประชาชนต่อบทบาทภารกิจและผลงานของกองทุนโดยทั้งสองด้านอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับมากจากการศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าคณะกรรมการกองทุนมีความเห็นว่าด้านที่ควรพัฒนา 5 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านการสร้างการรับรู้ความเข้าใจและความสนใจของประชาชนต่อบทบาทภารกิจและผลงานของกองทุน ด้านการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุน ด้านการควบคุมติดตามประเมินผล และด้านการวางแผนปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ 1) คุณลักษณะของผู้นำและพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยบริการปฐมภูมิหรือระหว่างผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง 3) การมีกระบวนการสร้าง การมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง 4) การทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็งปัญหาอุปสรรค ได้แก่ 1) พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหน่วยบริการปฐมภูมิหรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง 3) การมีส่วนร่วมของประชาชนค่อนข้างน้อย 4) การบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และ 5) การไม่มีตำแหน่งบุคลากรสายวิชาชีพด้านสาธารณสุขในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์AN ADMINISTRATION MODEL OF THE LOCAL HEALTH SECURITY FUND IN BURIRAM PROVINCE is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.