รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรท้องถิ่นโดยการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวม
A MANAGEMENT MODEL FOR TRAINING TEACHERS IN BASIC EDUCATION SCHOOLS TO CREATE LEARNING UNITS FOR THE INDIGENOUS CURRICULUM USING INTERGRATED LEARNING TO THE UNIFIED CONCEPT

: ชื่อผู้วิจัย ศักดิ์ดา ศรีผาวงศ์
: ตำแหน่ง -
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2558
: 497

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างรูปแบบบริหารเพื่อพัฒนาครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรท้องถิ่น โดยการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวม 2) เพื่อนำรูปแบบการบริหารไปพัฒนาครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรท้องถิ่นโดยการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวม และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารให้เป็นนวัตกรรมที่สมบูรณ์ทำให้เกิดความยั่งยืนสำหรับพัฒนาครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรท้องถิ่นโดยการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวมการวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงผสมโดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณที่มีการทดลองและใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายการวิจัยเป็นครูสถานศึกษาศึกษาขั้นพื้นฐานจาก 2 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 1 จำนวน 28 คน และจาก 1 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33 จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 43

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรท้องถิ่นโดยการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวมที่สร้างขึ้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) การปรับกระบวนทัศน์ผู้บริหารสถานศึกษาและครูแกนนำโดยใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการและการศึกษาดูงาน 2) กลยุทธ์การบริหารเพื่อพัฒนาครูมีวิธีดำเนินการ 4 ขั้นตอนประกอบด้วย การสร้างค่านิยม การปรับเปลี่ยนเจตคติ การสร้างทีมผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3) การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาครูมีวิธีดำเนินการ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์แบบองค์รวม การจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ การจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวม การประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีวัดผลเชิงคลินิกและการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเชิงคุณภาพและ 4) กระบวนการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาครูมีวิธีดำเนินงาน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์กร การจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับงาน การอำนวยการและการควบคุม

2. ผลจากการนำรูปแบบไปทดลองกับครูในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายพบว่า ครูสามารถจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการที่มีกระบวนการเรียนรู้เกิดจากการมองปัญหาทุกแง่มุมอย่างรอบด้าน โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านการคิดวิเคราะห์การคิดเชิงระบบที่มีจินตนาการในการคิดแก้ปัญหาพัฒนาความคิดถึงขั้นใช้ปัญญาสำนึกเพื่อการหยั่งรู้ในสิ่งที่สนใจครูใช้การวิจัยในชั้นเรียนเชิงคุณภาพและการวัดผลเชิงคลินิกวิเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้และทักษะต่าง ๆ ที่ผู้เรียนได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ต่าง ๆได้

3. รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรท้องถิ่นโดยการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวมที่สมบูรณ์ ได้นวัตกรรมที่ทำให้เกิดความยั่งยืนมีปัจจัยที่สำคัญ ดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเข้าใจและเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวมพร้อมทั้งสนับสนุนการทำงานครูอย่างจริงจัง 2) ครูมีการวางระบบการทำงานร่วมกันเป็นทีมนำข้อมูลจากการวิจัยในชั้นเรียนเชิงคุณภาพและการวัดผลเชิงคลินิกมาพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นเพื่อให้สามารถคิดเชิงระบบคิดวิเคราะห์และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ และ 3) การกระตุ้นให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมโดยให้ข้อเสนอแนะและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวมด้วยความสนใจ

`

รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรท้องถิ่นโดยการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวมA MANAGEMENT MODEL FOR TRAINING TEACHERS IN BASIC EDUCATION SCHOOLS TO CREATE LEARNING UNITS FOR THE INDIGENOUS CURRICULUM USING INTERGRATED LEARNING TO THE UNIFIED CONCEPT is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.